การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

12 กระทำโดยลำพังและมิได้ขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การกระทำนั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 21) 2.2.2 การให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมที่ผู้เยาว์ การให้ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม (มาตรา 21) หรือการให้สัตยาบัน (มาตรา 179) เป็น การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะให้มีผลในทางกฎหมายและไม่สามารถมีสิทธิในการบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นอีก การให้ความยินยอม มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ อำนาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม และ อำนาจทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การจำกัดความสามารถของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ได้บัญญัติหลักการทำนิติกรรมสัญญาของผู้เยาว์ คือควรได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อนที่จะทำนิติกรรมเป็นการอนุญาตเป็นกรณีๆ ไป (มาตรา 21) การยินยอมให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อ การอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด ผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ ตามใจสมัคร (มาตรา 26) การยินยอมให้ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำ สัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ กรณีนี้ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานให้ ผู้เยาว์มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว (มาตรา 27) แต่มีนิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เช่น นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574 ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาล จะอนุญาตได้แก่ 1) ขายแลกเปลี่ยนขายฝากให้เช่าซื้อจำนองปลดจำนองหรือโอนสิทธิจำนองซึ่งสังหาริมทรัพย์หรือ สังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ 2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 3) ก่อตั้งภาระจำยอมสิทธิอาศัยสิทธิเหนือพื้นดินสิทธิเก็บกินภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือ ทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์ 4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น 5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี 6) ก่อข้อผูกพันใดๆที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3) 7) ให้กู้ยืมเงิน 8) ให้โดยเสน่หาเว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะเพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยาทั้งนี้พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ 9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภารติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3