การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

13 10) ประกันโดยประการใดๆอันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผล ให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น 11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3) ซึ่งได้แก่ (1) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน (2) รับขายฝากหรือรับจำนอง อสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรกแต่จำนวนเงินที่รับขายฝากหรือรับจำนองต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของ อสังหาริมทรัพย์นั้นและ (3) ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการในราชอาณาจักร 12) ประนีประนอมยอมความ 13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย นิติกรรมใดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (1) ถึง (13) จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนเท่านั้น ศาลจะเป็นผู้ทำหน้าที่กลั่นกรองคำขอเพื่อรักษา ประโยชน์ทางทรัพย์สินของผู้เยาว์ โดยเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาในการให้อนุญาตแก่ผู้แทนโดยชอบธรรม นิติ กรรมใดๆ ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมทำลงไปโดยปราศจากคำอนุญาตของศาล นิติกรรมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันผู้เยาว์ และผู้แทนโดยชอบธรรมต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อบุคคลภายนอกเอง ส่วนลักษณะของการให้ความยินยอม ของผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องเป็นการให้ความยินยอมก่อนหรือขณะที่ผู้เยาว์เข้าทำนิติกรรม การให้ความ ยินยอมภายหลังไม่ถือเป็นการให้ความยินยอม และการให้ความยินยอมไม่จำเป็นต้องให้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ ได้ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมด้วยวาจา หรือโดยปริยายก็ได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ ยอมยินยอมโดยปราศจากเหตุอันสมควร ผู้เยาว์สามารถร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลอนุญาตก็ได้ ( ธรรมเนียม แก้วหอม คำ et al., 2561) 2.2.3 ความสามารถของผู้เยาว์ ความสามารถเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลดังนั้นความสามารถในบุคคล คือ ทักษะในการทำงานที่ดีมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ประเวศ มหารัตน์กุล, 2557) แต่ในทางกฎหมาย ความสามารถเป็นเรื่องการทำ ข้อตกลงที่มีผลผูกพันในทางกฎหมายดังนั้น ความสามารถของบุคคล (Capacity) จึงหมายถึง ความสามารถใน การมีสิทธิหรือใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งโดยปกติบุคคลทุกคนมีความสามารถในการใช้สิทธิได้ทัดเทียมกันเมื่อ บรรลุนิติภาวะ แต่มีบางกรณีเพื่อคุ้มครองบุคคลบางประเภท กฎหมายจึงได้จำกัดหรือตัดทอนความสามารถ ของบุคคลบางประเภทซึ่งบุคคลเหล่านี้ ได้แก่ ผู้หย่อนความสามารถซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ (นครินทร์ นันทฤทธิ์, 2563) ในการก่อสิทธิขึ้นใหม่ หรือ กระทำการใด ๆ ให้ได้มาหรือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิดชอบที่มิได้ตกติดมากับสภาพ บุคคลต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้กระทำต้องมีความสามารถในการกระทำนั้น ในการประกอบธุรกิจของผู้เยาว์เป็นการก่อสิทธิที่ไม่ได้ตกติดมากับผู้เยาว์ซึ่งเป็นผู้หย่อน ความสามารถต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน (มาตรา 27) เมื่อได้รับความยินยอมแล้วจึง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3