การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
14 อยู่ในฐานะผู้บรรลุนิติภาวะเฉพาะในกิจการที่อนุญาตเท่านั้น หากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่อนุญาต ผู้เยาว์ สามารถร้องต่อศาลให้พิจารณาว่าสมควรอนุญาตหรือไม่ หากกรณีผู้เยาว์ดำเนินธุรกิจผิดพลาดจนเสียหาย ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือศาลที่ได้ให้อนุญาตไปแล้วสามารถถอนคำอนุญาตนั้นเสียก็ได้ ผลก็คือคำขออนุญาต ดังกล่าวถูกบอกเลิกทำให้กลับสู่สภานะเป็นผู้เยาว์อีกครั้ง และธุรกิจไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ส่งผลกระทบ ต่อความเชื่อมั่นและความไม่เป็นธรรมต่อบุคคลที่ทำธุรกิจกับผู้เยาว์ และในปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป การดำเนินชีวิตที่ต้องสร้างฐานะตนเองและประกอบอาชีพเร็วขึ้น ทำให้ผู้เยาว์อาจมีวุฒิภาวะที่แตกต่างจากอายุ การบรรลุนิติภาวะในทางกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ไฉไล ศักดิวรพงศ์, 2549) สำหรับการทำละเมิดของผู้เยาว์เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้บุคคลอื่นเสียหาย บุคคลที่จะทำละเมิดได้จะต้องมีความสามารถที่จะกระทำการโดยรู้สำนึกของการกระทำและในการกระทำนั้น ต้องประสงต่อผลหรือเล็งเห็นผลจากการกระทำว่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น กล่าวได้ว่าผู้กระทำต้องรู้ สำนึก และรู้ผิดชอบแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 วางหลักของการละเมิดไว้ว่าผู้เยาว์ หรือผู้วิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่เกิดจากการทำละเมิดของตน เพราะการทำละเมิดมิใช่การใช้สิทธิในการ ก่อนิติสัมพันธ์ แต่เป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผู้เยาว์ซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถจะต้อง รับผิดชอบ และบิดามาดาหรือผู้อนุบาลต้องร่วมกันรับผิดกับผู้ทำละเมิดแม้จะมิได้มีส่วนผิดในการทำละเมิด นั้นด้วย สรุป การแบ่งความสามารถของผู้เยาว์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้แบ่งแยกออกอย่าง ชัดเจนว่าผู้เยาว์อายุเท่าไรสามารถใช้สิทธิของตนเองได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขอรับความยินยอมต่อผู้แทนโดย ชอบธรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้เยาว์ที่อยู่ในช่วงอายุ 17-18 ปีซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่จบจากการศึกษาภาคบังคับ และพร้อมจะเข้าสู่แรงงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัวแต่ถูกปฏิเสธเนื่องจากผู้ประกอบการยังคิดว่าบุคคลในช่วง อายุดังกล่าวยังเป็นผู้เยาว์และมีความคิดว่ามีความเสี่ยงต่อการกระทำความผิดตามกฎหมายในการรับเข้า ทำงานทำให้บุคคลในช่วงอายุดังกล่าวต้องเสียสิทธิในการประกอบอาชีพแม้จะมีประสบการณ์มาแล้วก็ตาม 2.2.4 ความผิดทางกฎหมายอาญาของผู้เยาว์ การแบ่งการกระทำความผิดของผู้เยาว์ในทางกฎหมายอาญา ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ได้แบ่งการกระทำความผิดทางอาญาไว้ในมาตรา 73 ว่า เด็กอายุยังไม่เกินเจ็ดปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ และมาตรา 74 บัญญัติว่า เด็กอายุกว่าเจ็ดปี แต่ไม่เกินสิบสี่ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษแต่ให้ศาลมีอำนาจว่ากล่าว ตักเตือน หรือมอบเด็กนั้นให้แก่ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นหรือองค์กรที่ศาลเห็นสมควร หรือส่งตัวเด็กนั้นไป โรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21 พ.ศ. 2551) ได้ แบ่งเกณฑ์อายุที่การกระทำความผิดในทางอาญาของผู้เยาว์จาก 7 ปี เป็น 10 ปี ในมาตรา 73 บัญญัติว่าเด็ก อายุยังไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ มาตรา 74 บัญญัติว่า เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3