การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

15 กำหนดให้ศาลดำเนินการบางอย่าง เช่น ว่ากล่าวตักเตือน หรือมอบเด็กให้ผู้ปกครองไปดูแลโดยมีข้อกำหนดบาง ประการ มาตรา 75 บัญญัติว่าผู้ใดอายุกว่าสิบห้าปีแต่ต่ำกว่าสิบแปดปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็น ความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้น ในอันที่จะควรวินิจฉัยว่าสมควร พิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ และมาตรา 76 บัญญัติว่า ผู้ใดอายุตั้งแต่สิบแปดปีแต่ยังไม่เกินยี่สิบปี กระทำการ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การกำหนดเกณฑ์อายุของ เด็กยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับเกณฑ์ในกฎหมายหลายฉบับของไทย และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของพลเมือง ค.ศ. 1966 ของสหประชาชาติ และการศึกษาทางการ แพทย์แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีอายุระหว่าง 7 ปีถึง 12 ปี มีพัฒนาการด้านความคิดสติปัญญาและจริยธรรมยัง ไม่สมบูรณ์ ขาดความรับผิดชอบชั่วดี และไม่สามารถคาดการณ์ผลที่เกิดจากการกระทำของตนเองได้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์อายุของเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษแม้ได้ กระทำการอันกำหมายบัญญัติเป็นความผิด จากอายุยังไม่เกิน 10 ปี เป็นอายุยังไม่เกิน 12 ปี (มาตรา 73) และ แก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์อายุเด็กในการพิจารณาเพื่อใช้วิธีการสำหรับเด็ก จากอายุกว่า 10 ปีแต่ยังไม่เกิน 15 ปี (มาตรา 74) ด้วยเหตุผลว่า ข้อมูลการแพทย์พบว่าเด็กอายุ 12 ปี และเด็กอายุ 10 ปี ไม่มีความแตกต่างกันมาก นัก โดยเด็กในวัยดังกล่าวเป็นช่วงที่พัฒนาการด้านความคิด สติปัญญา จริยธรรม และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ไม่สามารถคาดการณ์ผลที่อาจเกิดจากการกระทำของตนได้อย่างดีพอ อีกทั้งเด็กที่มี อายุไม่เกิน 12 ปี ยังอยู่ในวัยการศึกษาระดับประถมศึกษาจึงไม่ควรเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีทางอาญาซึ่ง เป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และอาจทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิธีกระทำความผิดเพิ่มขึ้นจนเป็น เหตุให้นำไปสู่การกระทำความผิดซ้ำอีก ประกอบกับเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับ ที่ 10 (ค.ศ.2007) (General Comment No.10Z2007) Children’s Right in Juvenile Justice) ที่ออกตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of Child) และประเทศไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดย สมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563) อีกด้วย (สำนักงานกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2564) ต่อมาเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรา ลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชองการโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29 ) พ.ศ. 2565 ในมาตรา 73 โดยมีความสำคัญดังนี้ เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี กระทำการ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ และมาตรา 74 ได้กล่าวไว้ว่า เด็กอายุกว่า 12 ปีแต่ไม่ เกิน 15 ปีกระทำความผิดอาญาเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจกระทำการ ว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือน ด้วยก็ได้ หรือมอบเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยวางข้อกำหนดให้ดูแลเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3