การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
22 สรุป ในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่หรือการใช้ชีวิตอย่างอิสระนั้นต้องยอมรับในความเป็นจริงว่าการ เติบโตเป็นผู้ใหญ่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุว่าควรมีอายุเท่าไรจึงจะเหมาะสม เพราะในบางครั้งเราจะเห็นว่าผู้ที่มี อายุ 30 ปี ขึ้นไป บางคนยังไม่มีวุฒิภาวะที่เพียงพอก็ได้ เช่นในการใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหาซึ่งสามารถเห็น ได้ในข่าวแทบทุกวัน การเป็นผู้ใหญ่ในทางสังคมนั้นจะวัดกันด้วยเหตุผลอย่างไร เส้นแบ่งระหว่างเด็กและความ เป็นผู้ใหญ่ในสังคมแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกัน อาจมีการกำหนดโดยจารีตประเพณีดังเดิมของสังคมนั้น ๆ หรือ โดยศาสนา หรือโดยรัฐเป็นผู้กำหนดว่าใครสามารถเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกับ ผู้อื่นในสังคมได้ การเติบโตที่กำหนดโดยสังคม เป็นการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจและทางด้านสมอง ผู้ที่จะเป็น ผู้ใหญ่ได้ทางสังคมไม่มีกำหนดอายุที่แน่นอนเสมอไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ และความ รับผิดชอบของบุคคลนั้น แต่ในการกำหนดโดยกฎหมายนั้นถือว่าบุคคลที่มีอายุ 20 ปี ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ด้วย เหตุผลว่าบุคคลในวัยดังกล่าวได้ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาพอสมควร มีความรับผิดชอบ มีความรู้ความสามารถ พอที่จะเป็นผู้ที่สามารถใช้สิทธิของตนเองได้อย่างอิสระ แต่มีบางประเทศที่กำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 18 ปีก็สามารถ เป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ซึ่งการเป็นผู้ใหญ่นั้นอาจจะไม่สามารถกำหนดได้ด้วยอายุเพียงอย่างเดียวอาจมี องค์ประกอบอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องได้เช่นเดียวกัน องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของวัยรุ่นว่าเป็น บุคคลในช่วงอายุ 10-19 ปี และมีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ 1) มีพัฒนาการทางร่างกาย โดยเฉพาะการ เปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศจนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ 2) มีการพัฒนาด้านจิตใจ โดยเป็นระยะที่ เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ 3) มีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัว มาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพ และมีรายได้ของตนเอง หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ได้ เห็นได้ว่า หากบุคคลที่มีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์ มีวุฒิภาวะ และที่สำคัญสามารถประกอบอาชีพและมีรายได้ เป็นของตนเองได้นั้นก็สามารถเป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ประเทศไทยกำหนดให้บุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป ใช้สิทธิออก เสียงเลือกตั้งได้และหากกระทำผิดจะต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่ ไม่ใช่ศาลเด็กและเยาวชน ดังนั้น หากพิจารณาความ เหมาะสมของบุคคลอายุเพียงใดที่จะบรรลุนิติภาวะ ควรพิจารณาถึงการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ และมี การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และความสามารถประกอบอาชีพมีรายได้ด้วยตนเอง 2.4 การพัฒนาทางสติปัญญาของผู้เยาว์ ในแต่ละช่วงวัยของมนุษย์มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่แตกต่างกันมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว ตลอด เกิดจากการเจริญเติบโตทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อจนสมบูรณ์ การทำความเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์จะ ทำให้รู้ความสามารถของบุคคลในแต่ละช่วงวัยได้ 2.4.1 ความหมายการพัฒนา คำว่าพัฒนาการมีคำที่มีความหมายถึงการพัฒนาอยู่ 2 คำคือ Growth และ Development ความหมายโดยทั่วไปหมายถึง ความเจริญงอกงามและการเปลี่ยนแปลง แต่นักวิชาการทางด้านจิตวิทยาได้ให้ ความหมายไว้แตกต่างออกไป ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3