การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
23 การพัฒนาการ (Development) คือ ระบบความเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผน และเป็นขั้นตอนช่วยให้สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพจากความหมายของพัฒนาการ เราจะเห็นว่าสิ่งสำคัญของการพัฒนาการ คือ ระบบความเจริญเติบโต ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องทำความ เข้าใจ ความเจริญเติบโต (Growth) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด รูปร่าง สัดส่วนกระดูก และ กล้ามเนื้อ ที่มีคุณสมบัติดีขึ้น มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตนี้รวมถึง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในทุก ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม (กฤตวรรณ คำสม, 2557) พัฒนาการ (Developmental) หมายถึง การเจริญเติบโต (Growth) คือการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ร่างกาย การมีวุฒิภาวะ (Maturation) คือการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้บุคคลมีความสามารถพอที่จะกระทำกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเหมาะสมในแต่ละวัย และการเรียนรู (Learning) คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็น ผลมาจากประสบการณ์ (ขวัญสุดา บุญทศ, 2563) 2.4.2 พัฒนาการของมนุษย์ พัฒนาการของมนุษย์ต้องอาศัยระยะเวลาและความต่อเนื่องค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขั้น การ พัฒนาจะสมบูรณ์ได้ต้องอาศัยวุฒิภาวะและการเรียนรู้ การพัฒนาการของมนุษย์มีนักวิชาการด้านจิตวิทยาได้ กล่าวไว้หลายท่านดังนี้ ด้านจิตวิทยาการจูงใจของ มาสโลว์ ได้กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ 5 ระดับภายในรูปปิรามิด ซึ่งความต้องการในลำดับต่ำกว่าในลำดับชั้น จะได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะสามารถตอบสนองความ ต้องการที่สูงขึ้นได้ จากล่างสุดของลำดับชั้นขึ้นไป ได้แก่ สรีรวิทยา ความปลอดภัย ความรักและความเป็น เจ้าของ ความนับถือ และการทำให้เป็นจริงด้วยตนเอง ซึ่งความต้องการต่าง ๆ มีรากฐานที่สำคัญคือ ธรรมชาติ ภายในมนุษย์เป็นธรรมชาติพื้นฐานทางชีวภาพโดยธรรมชาติและไม่เปลี่ยนแปลง สามารถศึกษาและค้นพบทาง วิทยาศาสตร์ได้ ความต้องการ ทางอารมณ์ และความสามารถขั้นพื้นฐานของมนุษย์ไม่ได้ชั่วหรือดีมาแต่กำเนิด แต่ถูกปรุงแต่งขึ้นในภายหลัง ความต้องการของมนุษย์ด้านพื้นฐาน คือ อาหาร ที่พักอาศัย น้ำ ความปลอดภัย ความรัก และสถานะ ซึ่งเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษย์ เมื่อเป้าหมายเหล่านี้สำเร็จมนุษย์ก็จะพัฒนาความ เป็นตัวเองที่ไม่เหมือนใครเรียกว่าความตระหนักรู้ในตัวเอง มนุษย์จะมีพฤติกรรมและความต้องการตามลำดับ ขั้น และไม่จำเป็นที่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยภายนอกและความแตกต่างระหว่าบุคคล (David Grinstead, 2015) พัฒนาการของฟรอยด์ (Freud’s theory of Personal Development) เป็นการพัฒนาจิตวิทยา ทางเพศ (Psychosexual Development) โดยฟรอยด์มีความเห็นว่า สิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของ มนุษย์คือเพศหรือกามารมณ์(Sex) โดยเห็นว่าพฤติกรรมของบุคคลเกิดจากแรงดันหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้น ให้บุคคลแสดงพฤติกรรม คือ สัญชาตญาณทางเพศ ระยะสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage) คือ ระยะเริ่ม ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ เด็กจะเริ่มสนใจเพศตรงข้ามต้องการความรัก เตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่ ต้องการความ สนใจและการยอมรับจากสังคม อีกทั้งมีการแสวงหาความสุขความพอใจแบบผู้ใหญ่ ฟรอยด์ เห็นว่าระยะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3