การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
26 ขึ้นในช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในการจัดทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คศช.) ได้จัดทำบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560- 2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมียุทธศาสตร์ ทั้งหมด 10 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์อยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 1 เกี่ยวกับการ เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่จำนวนประชากรวัยแรงงานเริ่มลดลงส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน ศักยภาพของ คนไทยต่ำกว่าเป้าหมายไม่สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเรียนรู้ของคนไทยยังมีปัญหาเชิง คุณภาพ ครอบครัวขาดความรู้และเวลาในการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม การศึกษาไทยยังอยู่ในระดับต่ำแรงงานยัง ขาดคุณภาพ การพัฒนาจึงต้องให้ความสำคัญกับการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์เริ่มตั้งแต่เด็ก ปฐมวัยควบคู่กับการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย จิตสำนึกที่ดีต่อสังคมร่วมกัน สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว 2.4.3 วัยแรงงาน การพัฒนาวัยแรงงานซึ่งมีอายุระหว่าง 15-59 ปีของประเทศ ให้มีศักยภาพสามารถรองรับกับการ พัฒนาอย่างท้าทายในอนาคตจึงเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ต้องมีการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อ เสริมสร้างทักษะแรงงานในประเทศให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับงานและความต้องการของตลาดแรงงานทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงการดำเนินการเพื่อวางแผนและสร้างระบบที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานสถานการณ์วัยทำงานในส่วนนี้จะเป็นการนำเสนอสถานการณ์วัยทำงาน ของประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันในหลากหลายมิติซึ่งสามารถอธิบายโดยสังเขปได้ดังนี้ ด้านโครงสร้าง กำลังแรงงานของประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2559) ได้ทำการสำรวจสภาวะการทำงานของประชากร พบว่า โดยภาพรวมโครงสร้างกำลังแรงงานระหว่าง พ.ศ. 2550 - 2558 ของประเทศไทยมีประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไปโดยเฉลี่ยประมาณ 50 ล้านคน โดยเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานซึ่งประกอบด้วยผู้มีงานทำ ผู้ว่างงาน และผู้รอ ฤดูกาล ประมาณ 40 ล้านคน และเป็นผู้อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้ทำงาน บ้าน เรียนหนังสือและอื่นๆ ประมาณ 20 ล้านคน ขณะที่จำนวนประชากรวัยแรงงานล่าสุดในไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2559 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยทำงานอายุ 15 ปีขึ้น ไป จำนวน 55.74 ล้านคน เป็นผู้อยู่ ในกำลังแรงงาน 37.91 ล้านคน และผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 17.83 ล้านคน สำหรับกลุ่มผู้อยู่ในกำลังแรงงาน จำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้มีงานทำ 37.43 ล้านคน ผู้ไม่มีงานทำ 0.37 ล้านคน และผู้รอฤดูกาล 0.12 ล้านคน สำหรับสภาวะการทำงาน ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2558 พบว่า เมื่อแบ่งตามภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ แรงงานส่วน ใหญ่จะทำงานจะอยู่ในภาคการบริการและการค้า รองลงมาคือภาคเกษตรกรรม และภาคการผลิต ตามลำดับ โดยตลอดช่วงเวลาจะสังเกตเห็นว่าแรงงานได้มีการเคลื่อนย้ายออกจากภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ภาคการบริการ และการค้า และภาคการผลิตอย่างต่อเนื่องเมื่อพิจารณาถึงสถานะการทำงานของวัยแรงงาน พบว่าแรงงานส่วน ใหญ่มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างมากที่สุด รองลงมาคือทำงานส่วนตัว ทำงานให้ครอบครัว ลูกจ้างรัฐบาล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3