การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

27 นายจ้างและ การรวมกลุ่มตามลำดับ ตลอดระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2550-2558 พบว่า ผู้ทำงานที่เป็นลูกจ้าง รัฐบาลและทำงานส่วนตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลงเป็นบางช่วงปี และมีแนวโน้มเพิ่มอย่างต่อเนื่องนับตั้งปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ลูกจ้างเอกชนและทำงานให้ครอบครัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการ รวมกลุ่มมีแนวโน้มคงที่ที่ระดับ 0.1-0.2 ในด้านค่าจ้างเฉลี่ย พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2558 ค่าจ้างเฉลี่ยมี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบาย การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ระบุอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ที่เริ่มกำหนดใช้ในปี พ.ศ. 2556 อย่างไรก็ตาม จะสังเกตเห็นว่าอัตราค่าจ้างมีการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลิตภาพของแรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่าง ช้าๆ เช่นกันดังที่ได้นำเสนอไว้ในส่วนที่ 2 และเมื่อพิจารณาแรงงานนอกระบบจากการสำรวจเปรียบเทียบร้อย ละของแรงงานที่อยู่ในระบบและนอกระบบระหว่างปีพ.ศ. 2550-2558 พบว่า จำนวนแรงงานนอกระบบมี จำนวนประมาณร้อยละ 60 และแรงงานในระบบมีจำนวนประมาณร้อยละ 40 ทั้งนี้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของจำนวนแรงงานในระบบมีการเปลี่ยนไม่มากนักในช่วงปี พ.ศ. 2550-2555 แต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่องนับตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ส่วนจำนวนแรงงานนอกระบบพบว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรในปี พ.ศ.2563 ถึงปี พ.ศ. 2564 อ้างอิงจากข้อมูลสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สรุปได้ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีจำนวนประชากร 66.19 ล้านคน แยกตามช่วงอายุได้ดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรของประเทศไทยในปี 2563 แยกตามช่วงอายุ ช่วงอายุ เพศชาย เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ของประชากรทั้งหมด 0-14 5,512,470 5,209,331 16.20 % 15-24 4,333,814 4,151,876 12.82 % 25-54 14,584,071 14,963,073 44.64 % 55-64 3,891,464 4,466,079 12.63 % 65 ปีขึ้นไป 3,409,472 4,485,814 11.93 %

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3