การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
29 ปัญหาความยากจน และปัญหาในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะเห็นได้ว่าประชากรที่อยู่ในวัยผู้เยาว์ที่มีอายุ ระหว่าง 15 ปีบริบูรณ์ ถึง 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเมื่อได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องสามารถเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีวุฒิภาวะพอที่จะรับผิดชอบในการประกอบอาชีพและเป็นการสร้างโอกาสและความรับผิดชอบ หน้าที่การงานให้เป็นผู้มีทักษะในการทำงานต่อไปในอนาคต 2.5 การพัฒนาการศึกษา การศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศไทย ที่รัฐ จะต้องดำเนินการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยให้มีความความสามารถในทุก ๆ ด้าน จากความเป็นมาในการพัฒนา การศึกษาที่มีระยะเวลาอันยาวนาน สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการการเรียนการสอน และการปฏิรูปการศึกษา หลายครั้งเพื่อต้องการให้ประชาชนได้เข้าถึงการศึกษาให้มากที่สุด โดยมุ่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในกระแส โลกาภิวัตน์ ทัดเทียมต่อประเทศต่าง ๆ ท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาการศึกษาของประเทศ ไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยแบ่งเป็นช่วงระยะเวลาได้ดังนี้ 2.5.1 การพัฒนาการศึกษาในอดีต สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781-1921) การศึกษามีรัฐโดยสำนักราชบัณฑิตจัดการเรียนการสอนให้แก่ สมาชิกราชวงศ์และบุตรหลานของข้าราชการเท่านั้น และวัดร่วมกันเป็นศูนย์กลางการศึกษาจำกัดเฉพาะ การศึกษาของบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เริ่มมีโรงเรียนมิชันนารีของชาวตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ ศาสนาและมีการสอนวิชาสามัญ สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2311-2411) การศึกษายังคงมีบ้านและวัดมีบทบาท สำคัญเช่นเดิม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 (พ.ศ. 2411-2453) ทรงริเริ่มวางรากฐานการศึกษาแผนใหม่ มีการจัดตั้งโรงเรียนจากในพระบรมมหาราชวังขยายสู่ ราษฎร เริ่มมีการจัดการศึกษาที่เป็นแบบแผนด้วยการนำการศึกษาแบบเดิมกับแบบสากลประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อความเหมาะสมกับสภาพสังคมในสมัยนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมราชบพิตร รัชการที่ 9 ได้ปฏิรูป การศึกษาโดยประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2520 เพื่อให้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เน้นการศึกษาเพื่อชีวิตและสร้างประโยชน์แก่สังคม แผนการ ศึกษาแห่งชาติฉบับนี้แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระบบ คือการศึกษาในระบบโรงเรียน และการศึกษานอกระบบ โรงเรียน ในปี พ.ศ. 2542 มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมาย การศึกษาฉบับแรกของไทย และกฎหมายการศึกษาอีกหลายฉบับ โดยมุ่งเน้นสังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคกระแส
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3