การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

30 โลกาภิวัตน์ เป็นการปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ มีการ สนับสนุนค้นคว้าวิจัยในวิทยาการด้านต่าง ๆ เร่งรัดการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ประเทศ ในการจัดการศึกษาคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและเอกชนภายใต้การกำกับดูแล ของรัฐ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ให้มีการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรม ขึ้นเพื่อเป็นการแยกภารกิจงานด้านศิลปและวัฒธรรมออกจากการศึกษาโดยจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และ มีการปรับปรุงการบริหารการศึกษาและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และให้มีคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาให้สอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังจากนั้นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2553 ได้มีการแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัฐยม การศึกษาเพื่อจัดการบริหารการศึกษาสัมฤทธิผลและมีคุณภาพ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับ ที่ 4 ) พ.ศ. 2562 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตรกรรม ขึ้น เห็นได้ว่าในสมัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมราชบพิตร รัชการที่ 9 ได้มีการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น มีการกระจายการศึกษาออกไปยังพื้นที่และแยกระบบ การศึกษาเป็นระบบอย่างชัดเจน เปิดโอกาสในการพัฒนาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกระทั่งใน สมัยรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชการที่ 10 เสด็จขึ้น ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบันได้ทรงมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ ผู้เรียน 4 ด้าน คือ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง 3) มีงานทำ มีอาชีพ และ 4) เป็นพลเมืองดี (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2561a) 2.5.2 การพัฒนาการศึกษาในปัจจุบัน การศึกษากับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่ของปวงชน ชาวไทยในมาตรา 50 (4) ให้บุคคลเข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้ เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และรัฐต้องจัดให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการและส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามมาตรา 54 เห็นได้ว่ารัฐบาลไทยแต่ละยุคสมัยให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาเป็นอันดับแรกตามที่ระบุ ไว้ในนโยบายด้านการศึกษาถือเป็นหนึ่งในนโยบายการปฏิรูปประเทศที่สำคัญที่สุด ซึ่งปัจจุบันประเทศไทย ประสบปัญหาความท้าทายใหม่ ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ด้านการศึกษา ทำให้ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ การศึกษาอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาในปัจจุบันได้แก่ ความ เจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการ เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้การสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นไปอย่างอิสระแบบไร้พรหมแดน โฉมหน้าของโลกยุคใหม่เป็นยุคของ Internet of things หรือยุคที่ระบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3