การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
31 อินเตอร์เน็ตได้ขยายเครือข่ายเข้าสู่ผู้คนทั่วไป องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษา ทำให้ประเทศไทยต้องปรับ เป้าหมายการศึกษาใหม่ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ พ.ศ. 2573 เป็นทิศทางใน การพัฒนาในช่วง 15 ปี ซึ่งวางเป้าหมายการพัฒนาไว้ 17 เป้าหมาย โดยเป้าหมายที่ 4 เป็นการสร้าง หลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ ตลอดชีวิต แนวคิดจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติยึดหลักการ เป้าหมาย และแนวคิด การจัดการ ศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน ทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัย วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงวัย ให้มีโอกาสได้รับการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงต้องกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย การศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้ มีทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและ วัฒนธรรมจากโลกภายนอก โดยยึดหลักความพอประมาณ ที่เป็นความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีการตัดสินใจที่มีเหตุผลอย่างรอบคอบ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งเป็นการ เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ รัฐจึงต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการมี ส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กร วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษา โดยบุคคลกลุ่มบุคคล หรือ องค์กรต่าง ๆ จะไดรับการส่งเสริมให้เข้าร่วมจัดการศึกษา เสนอแนะ กำกับติดตาม และสนับสนุนการจัด การศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ตามความพร้อมเพื่อประโยชนของสังคมโดยรวม (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , 2560) ในส่วนของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทย เป็นการ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยังยืน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 เพื่อใช้ เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ “ประชารัฐ” โดยมี 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ ชาติด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง สังคม 5) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6)ยุทธศาสตร์ ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ถูกนำมาใช้เป็น กรอบในการพัฒนาการศึกษาของชาติตามยุทธศาสตร์ที่ 3 คือยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญในการยกระดับการพัฒนาประเทศทุกมิติไปสู่ประเทศที่ พัฒนาแล้ว ด้วยการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นพัฒนาคน ทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพเป็นการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ปลูกฝังความเป็นคนดี มีวินัย พัฒนาความสามารถการเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาหรืออาชญากรรมต่าง ๆ มีความคิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3