การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

32 สร้างสรรค์ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความยืดหยุ่นทางความคิด รวมถึงทักษะ ด้านภาษา ศิลปะ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ รวมถึงการวางพื้นฐานการเรียนรู้เพื่อการวางแผนชีวิตและวางแผนทางการเงินที่ เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยและนำไปปฏิบัติได้ตลอดจนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับโลกการทำงาน รวมถึงทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ มีทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่น ได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม ( ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 , 2561) จากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาสู่แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) มีการปฏิรูป การศึกษาที่มุ่งเน้นการยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และปฏิรูปการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพ สามารถรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษา มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต โดย ครอบคลุมการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมวัยไปจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาการศึกษาสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ การ จัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาโดยใช้ระบบทวิภาคีหรือระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ ( ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) , 2564) ทำให้รัฐจะต้อง เข้ามาจัดการดูแลให้มีการพัฒนาทางด้านวิชาการ สติปัญญา เพื่อรองรับต่อการพัฒนาประเทศให้ทันต่อความ เจริญก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกการจัดการการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การให้สิทธิและโอกาสในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดให้ และให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ในการจัด การศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ และการ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขสอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของตนเอง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2545) 2.5.3 การพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพสังคม และโลก ที่ เปลี่ยนแปลงไป การเรียนในยุคสมัยใหม่ต้องไม่ใช่เพื่อให้ได้ความรู้เพียงอย่างเดียวแต่ต้องได้ทักษะในชีวิตที่ สำคัญที่สุดคือ แรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้เพื่อการสร้างเนื้อสร้างตัว การเรียนรู้สมัยใหม่คือต้องลงมือทำด้วย ตนเองเท่านั้นเพื่อให้ได้ทักษะหรือ Skills ซึ่งเป็นทักษะที่ซับซ้อนมาก การฝึกลงมือทำคือทักษะชีวิตและการ ทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี การเรียนรู้สมัยใหม่ต้อง เรียนให้ได้องค์ประกอบส่วนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีทักษะผู้นำ ภาวะผู้นำ และเป็นผู้ที่จะเข้าไปร่วมกัน สร้างการเปลี่ยนแปลง (วิจารณ์ พานิช, 2556) นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3