การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
33 2563 ในระดับมัธยมศึกษาเน้นจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อสร้างทักษะพื้นฐานเชื่อมโยงสู่การสร้างอาชีพ และการมีงานทำ ในระดับอาชีวศึกษามุ่งจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำและสร้างนวัตกรรมตามความต้องการ ของพื้นที่ชุมชนหรือประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ประกอบการเอง และการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย มุ่งสร้างโอกาสให้ประชาชนผู้เรียนที่สำเร็จหลักสูตรสามารถมีงานทำ การศึกษาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นให้ เด็กที่จบจากการศึกษาสามารถจะประกอบอาชีพได้ เป็นการพัฒนาแรงงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อเข้าสู่ ตลาดแรงงานต่อไป (ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ, 2562) การพัฒนาการศึกษาเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ท้าทายในยุคปัจจุบัน เพราะสภาพการ เปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ทำให้ทักษะของทรัพยากร มนุษย์ ที่มีอยู่ล้ำสมัยอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการฝึกฝนอบรมเพื่อให้มีความรู้ทักษะและความชำนาญมากขึ้นทุก ปี ดังนั้น รัฐบาล ธุรกิจและสถาบันการศึกษา จึงได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ รัฐบาลจะต้องกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเพื่อให้การวางแผนพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์มีความสอดคล้องกันในทุกระดับคือระดับหน่วยงาน ระดับองค์การและระดับประเทศ (จิตติมา อัครธิติพงศ์, 2556) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองและจาก ผู้อื่น การเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้มนุษย์มีความจำและสร้างสรรค์ได้ดี การฝึกอบรมก็มีบทบาทสำคัญที่เป็น เครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่นิยมใช้กันมานานและปัจจุบันก็ยังจำเป็นที่ต้องนำมาเป็นวิธีการใน การทำให้มนุษย์เพิ่มพูนความรู้ ใช้แก้ปัญหาในการทำงานได้ แต่การฝึกอบรมก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาด้านการ พัฒนาคนให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับมนุษย์เพี่ยงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีอีก หลายวิธีขึ้นอยู่กับปัจจัย สาเหตุ และความต้องการ อาจเป็นการพัฒนาการศึกษา และการเรียนรู้ องค์การ ภาครัฐควรให้ความสำคัญเนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge – Based Society) ประสบการณ์ ทักษะ ความสามารถ ในการพัฒนาประเทศ (สุรัชนี เคนสุโพธิ์, 2560) การพัฒนาแรงงานรุ่นใหม่สู่ ไทยแลนด์ 4.0 จะต้องพัฒนาการศึกษาให้มีทักษะที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาแรงงานรุ่นใหม่ตลอด ชีวิต โดยการทำงานร่วมกันระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถานศึกษาอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย โดยมี ภาคเอกชนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาแรงงานให้มีทักษะตรงตามความต้องการของ สถานประกอบการและตลาดแรงงานในปัจจุบัน รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายในการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษา ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เพื่อพัฒนาศักยภาพคน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (พีรพล ไทยทอง, 2560) การพัฒนาการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพหรือที่เรียกว่า “การอาชีวศึกษา” เป็นสถาบันการศึกษาที่ ผลิตและพัฒนากำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นส่วนใหญ่ ทั้งในระดับแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) และแรงงาน กึ่งฝีมือ (Semi – Skilled Labor) ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกภาคปฏิบัติควบคู่กับกับการศึกษา ภาคทฤษฎี ดังนั้นผู้เรียนในภาคการศึกษาระบบนี้จึงมีความรู้และความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติเพื่อที่จะได้เข้าสู่ตลาดแรงงานและเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ (เรวดี นามทองด, 2558) สอดคล้องกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3