การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

34 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพมี 3 รูปแบบ คือ 1) การศึกษาในระบบ เป็นการจัดการศึกษาในสถานศึกษา โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธี การศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการวัดและการประเมินผลเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 2) การศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา และระยะเวลา การวัดและการประเมินผลการสำเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรต้องมีความ เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 3) การศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษา อาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในการจัดหลักสูตรการเรียน การสอน และการวัดประเมินผลให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งอยู่ ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงาน ของรัฐ การจัดการอาชีวศึกษามุ่งเน้นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีเป็นสำคัญ ( พระราชบัญญัติ การ อาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 , 2551) การพัฒนาการศึกษาระบบทวิภาคีได้เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงตามบริบท แบ่งเป็น 4 ระยะเวลา ดังนี้ ระยะที่ 1 โครงการโรงเรียน-โรงงาน (Dual System) พ.ศ. 2527-2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึก ช่างฝีมือที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ และได้เปลี่ยนชื่อระบบการจัดการศึกษา ระบบโรงเรียน-โรงงานเป็น การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training : DVT) เมื่อปี พ.ศ.2535 เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรช่างชำนาญงาน สามารถนำไปใช้กับสถานประกอบการได้ ระยะที่ 2 โครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational System) พ.ศ. 2538-2541 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2538 โดยมี สาระสำคัญให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบหลากหลายนอกเหนือจากระบบปกติ สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง 2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2546 เป็นการจัดอาชีวศึกษาโดยความ ร่วมมือกับสถานประกอบการกำหนดให้จัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริงสามารถนำรายวิชาไปจัดฝึกใน สถานประกอบการไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียนเพื่อให้เกิดความรู้จริงในการปฏิบัติงาน (On the Job training) ระยะที่ 3 การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2545-2550 เป็นการ ปฏิรูปหลักสูตรที่เน้นความชำนาญเฉพาะด้านด้วยการปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้เลือกเรียนได้หลากหลายวิธี อย่างกว้างขวาง สามารถเลือกวิธีเรียนตามศักยภาพและโอกาสของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนตาม หลักสูตรใหม่ โดยจัดได้ 2 รูปแบบ คือ การฝึกงานในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน และทวิภาคี หรือฝึกงานครึ่งหลักสูตร โดยจัดให้มีการฝึกงานในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 3 ภาคเรียน ในระดับ ปวช. และ 2 ภาคเรียน ในระดับ ปวส.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3