การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

37 5. Blockchain Technologies เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจาย ศูนย์ซึ่งใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus ซึ่งข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain จะ สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยากซึ่งมีความสำคัญมาก ต่อไปจะถูกนำมาใช้ในทุกองค์กร 6. Virtual Assistants หรือที่เรียกกันว่าผู้ช่วยเสมือน เป็นการให้บริการงานธุรการทั่วไป งานด้าน เทคนิค หรือการสร้างสรรคต่าง ๆ แบบมืออาชีพ ซึ่งผู้ช่วยเสมือนนี้จะทำงานนอกสถานที่ จะทำหน้าที่เสมือน เลขาส่วนตัวที่สามารถมอบหมายงานให้ดำเนินการได้โดยไม่มีข้อผูกมัดหรือภาระผูกพันเหมือนการจ้างพนักงาน ทั่วไป เห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงจะมาช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ช่วยเหลือ หรือให้คำปรึกษาแก่ บุคคล ซึ่งแนวโน้มการการศึกษาจะขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนที่จะออกแบบการศึกษาด้วยตัวเอง (ชัชวาล โอสถานนท์, 2563) การศึกษาในยุคสังคมพลิกผัน (Disruptive) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านการ ประกอบอาชีพ ข้อมูลความรู้ด้านการประกอบอาชีพเกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง เด็กยุคใหม่สามารถประกอบ อาชีพสร้างรายได้จำนวนหลักล้านภายในไม่กี่เดือน วิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่ม เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ทั้งภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม และการสื่อสาร ความเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่รอดจึงเกิดขึ้นเพื่อปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตในโลกสังคมพลิกผัน ทำให้วง การศึกษาต้องทบทวนเพื่อปรับตัวและเปลี่ยนกระบวนการสอนให้มีความพร้อมกับสังคมยุคการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะระดับการศึกษาที่ทำหน้าที่ป้อนกำลังคนสู่ตลาดเศรษฐกิจของประเทศ หรือสร้างผู้ประกอบการใน ตลาดแรงงาน การจัดการอาชีวศึกษาเป็นระดับการศึกษาที่ผลิตคนในระดับฝีมือแรงงานเข้าสู่ตลาดฐานการผลิต ในอุตสาหกรรม พณิชยกรรม และด้านอื่น ๆ ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากหากอาชีวศึกษาไม่มีการปรับตัวเพราะ สิ่งสำคัญของการจัดการอาชีวศึกษาคือคนที่ต้องออกไปเผชิญกับความท้าทายในการแข่งขันกับโลกดิจิทัลใน กลุ่มแรงงาน (นิฟิรดาวส์ นิและชวลิต เกิดทิพย์, 2563) จากข้อมูลสถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2559-2560 ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงการจัดการศึกษาของประเทศไทย ใน ปี่การศึกษา 2560 พบว่าการเข้าถึงการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา อายุ 3-5 ปี มีอัตราเข้าเรียนสุทธิแบบ ปรับ (Adjusted Net Enrolment Ratio : ANER) อยู่ที่ร้อยละ 92.6 เด็กที่ไม่รับการศึกษา (Out of School Children : OOSC) ร้อยละ 7.4 และมีดัชนีความเสมอภาคทางเพศ (Gender Parity Index : GPI) ร้อยละ 1.05 คือจำนวนเด็กชายและเด็กหญิงเข้าถึงการศึกษาใกล้เคียงกัน ในระดับประถมศึกษา อายุ 6-11 ปี มีอัตราเข้า เรียนสุทธิแบบปรับ (ANER) อยู่ที่ร้อยละ 94.0 เด็กที่ไม่รับการศึกษา (OOSC) ร้อยละ 6.0 ประกอบด้วยเด็กที่ เข้าเรียนช้า ร้อยละ 5.6 และเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 0.4 หรือประมาณ 1.9 หมื่นคน และมีดัชนีความ เสมอภาคทางเพศ (GPI) ร้อยละ 1.06 คือจำนวนเด็กชายและเด็กหญิงเข้าถึงการศึกษาใกล้เคียงกัน ในระดับ มัธยมการศึกษาตอนต้น อายุ 12-14 ปี มีอัตราเข้าเรียนสุทธิแบบปรับ (ANER) อยู่ที่ร้อยละ 77.9 เด็กที่ไม่รับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3