การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 การศึกษา (OOSC) ร้อยละ 22.1ประกอบด้วยเด็กที่เข้าเรียนช้า ร้อยละ 13.8 และเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาร้อย ละ 8.3 หรือประมาณ 2.1 แสนคนและมีดัชนีความเสมอภาคทางเพศ (GPI) ร้อยละ 1.17 คือจำนวนเด็กชาย เข้าถึงการศึกษามากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย และในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ 15-17 ปี มีอัตราเข้าเรียน สุทธิแบบปรับ (ANER) อยู่ที่ร้อยละ 55.3 เด็กที่ไม่รับการศึกษา (OOSC) ร้อยละ 44.7 ประกอบด้วยเด็กที่เข้า เรียนช้า ร้อยละ 15.8 และเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 28.9 หรือประมาณ 7.7 แสนคนและมีดัชนีความ เสมอภาคทางเพศ (GPI) ร้อยละ 0.99 คือจำนวนเด็กชายและเด็กหญิงเข้าถึงการศึกษาใกล้เคียงกัน (สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา, 2561b) สรุป ปัจจุบันรัฐบาลได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาให้กับประชากรโดยเริ่มพัฒนา การศึกษาตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงการศึกษาตลอดชีพ มีการพัฒนาการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาให้มีทักษะในการ ประกอบอาชีพในระหว่างการศึกษาและการแนะแนวให้รู้จักอาชีพที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันจนสามารถตัดสินใจ ที่จะเลือกเรียนให้ตรงตามความต้องการของตนเองเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต ในส่วนการศึกษาด้าน อาชีวศึกษา ได้ปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ให้ ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของรัฐ เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นฐานการเรียนรู้สู่การสร้าง แรงงานที่มีความรู้และประสบการณ์ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐต่อไป ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของการเปลี่ยนแปลง การศึกษาและทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เยาชนในปัจจุบันได้รับการศึกษาและมีความรู้ ความสามารถ แตกต่างจากอดีต มีความพร้อมในการดำเนินชีวิต และศักยภาพในการประกอบอาชีพด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น 2.6 หลักการว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ องค์การสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี 1948 ภายใต้การทำลายล้าง เผ่าพันธุ์ชาวยิวในช่วงสงครามโลก หรือรับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในปี 1976 เป็นพันธกรณีผูกพันประชาคมระหว่างประเทศในการ พิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ถือว่าเป็นข้อบัญญัติสิทธิขั้นพื้นรฐานแห่งประชาคมระหว่างประเทศ (International Bill of Rights) และมีการพัฒนาสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาสามยุคด้วยกัน ยุคแรกจะประกอบด้วย สิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเรือน ยุคที่สองเป็นข้อเรียกร้องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ยุคที่ สามเป็นการให้ความสำคัญพิเศษกับสิทธิอันมีลักษณะทั่วไปแก่สาธารณะ (Collective Right) โดยข้อบัญญัติใน มาตรา 28 แห่งปฏิญญาสากลระบุว่า “บุคคลทุกคนชอบที่จะได้รับประโยชน์จากระเบียบในทางสังคมและ ในทางระหว่างประเทศอันจะเป็นเหตุให้ได้มาและสามารถใช้ซึ่งสิทธิประการต่าง ๆ ดังที่ได้กำหนดในปฏิญญานี้ โดยบริบูรณ์” (แวคส์ เรย์มอนด์, 2564) สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่คอยกำกับให้มนุษย์ ประพฤติปฎิบัติอยู่ในครรลองครองธรรมเมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม ชุมชน จำต้องมีผู้ปกครองทำหน้าที่ จัดสรรทรัพยากร รักษาความสงบเรียบร้อย และขจัดข้อพิพาทของพลเมือง ดังนั้นสิทธิมนุษยชนถือเป็น คุณธรรมที่ผู้ปกครองพึงมีและใช้อำนาจอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมดังกล่าว สิทธิมนุษยชนกับเสรีภาพขั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3