การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

39 พื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Speech) เสรีภาพในความเชื่อ (Freedom of Belief) เสรีภาพที่พ้นความหวาดกลัว (Freedom from Fear) เสรีภาพในสิ่งพึงปรารถนา (Freedom fromWant) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของสิทธิมนุษยชน จะประกอบด้วยสิทธิตามธรรมชาติที่มี มาแต่กำเนิด มีความเสมอกันของมนุษย์ทุกคน ไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ และเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่อาจแบ่งแยก ได้ (กิตติบดี ใยพูล, 2559) 2.6.1 ความหมายของสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน คำว่า “สิทธิ” และ “เสรีภาพ” เป็นคำที่มักใช้คู่กัน และคำว่า “สิทธิ” มีคำคู่กันอีกคำคือ “หน้าที่” เมื่อมีสิทธิย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ อย่างถูกต้องควรทำ ความเข้าใจถึงความหมายของคำต่าง ๆ ดังนี้ สิทธิ (Right) คือ ประโยชน์หรืออำนาจของบุคคลที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองมิให้มีการละเมิด รวมทั้งบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่มีการละเมิดด้วย เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในการเลือกอาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย การเดินทาง สิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น เสรีภาพ (Liberty, Freedom) หมายถึง อำนาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่เลือกดำเนิน พฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดใช้อำนาจแทรกแซงเกี่ยวกับการตัดสินใจ ที่จะกระทำหรือไม่กระทำ การใด ตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคม ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม (สำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร, 2556) สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ซึ่งสหประชาชาติได้รับรอง สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 9 ฉบับ ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้วจำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) มีผลบังคับใช้เมื่อ 5 ธันวาคม 2542 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) มีผลบังคับ ใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of all forms of Discrimination Against Women : CEDAW) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of all forms of Racial Discrimination : ICERD) มี ผ ล บังคับใช้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child : CRC) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษ อื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) มีผลบังคับใช้กับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2551 ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกขององค์การ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3