การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

40 สหประชาชาติ และเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้เกิดพันธะผูกพันในการ ปฏิบัติตามปฏิญญาและสนธิสัญญาดังกล่าว และได้นำมาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตังแต่ ฉบับปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยได้จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบใน การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ โดยได้ประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนมาแล้วจำนวน 3 ฉบับ แผน สิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2566) ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศสำหรับทุกภาคส่วนในการปฏิบัติในการดำเนินการร่วมกันยกระดับสิทธิ มนุษยชนของประเทศให้มีมาตรฐานเท่าเทียมระดับสากล มีแนวคิดพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ในด้านสิทธิและ เสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา เพศ และความคิดเห็นทางการเมือง จากแนวคิด พื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวสามารถจำแนกสิทธิมนุษยชนออกเป็น สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง (Civil and Political Right) ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ได้แก่ สิทธิในการ ดำเนินชีวิต ทรัพย์สิน ความยุติธรรม เสรีภาพ เป็นต้น และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Economic Social and Cultural Rights) ซึ่งเป็นสิทธิที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อให้การคุ้มครองและเคารพในรูปของ กฎหมาย ได้แก่ สิทธิในการศึกษา การดำรงชีพ สิทธิในการพักผ่อน เป็นต้น (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, 2561) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ได้ให้ ความหมายของคำว่าสิทธิมนุษยชนไว้ในมาตรา 4 “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล บรรดาที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตาม กฎหมาย หรือตามหนังสือสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งการตรา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อให้มีความสอดคล้องกับ มาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ( พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 , 2560) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาว ไทยไว้ในหมวดที่ 3 ตั้งแต่มาตรา 25 ถึงมาตรา 49 ว่าบุคคลย่อมเสมอกันทางกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและ ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความ แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคมความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ และกล่าวถึงสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศ การแข่งขัน อย่างเป็นธรรม การป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการ ประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จำเป็นหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นการตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3