การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
41 ประกอบอาชีพ ต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา และ มาตรา 50 (6) กำหนดหน้าที่ของปวงชนชาวไทยในการเคารพสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการ ใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม ( รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย , 2560) 2.6.2 การคุ้มครองสิทธิเด็ก สิทธิเด็ก เป็นสิทธิสากล (Universal Right) เป็นสิทธิเด็ดขาดที่ต้องได้รับการรับรองคุ้มครองตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on The Rights of The Child : CRC) ซึ่งมีความเป็นมาจาก สิทธิ พลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่กำหนดไว้ในปฏิญญาเจนีวา ในปี พ.ศ. 2466 และได้รับ การทบทวนเพิ่มเติมในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อปี พ.ศ. 2491 และสมัชชาใหญ่องค์การ สหประชาชาติ ได้ลงมติเป็นเอกฉัน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2502 ให้มีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายเพื่อการ พิทักษ์สิทธิเด็กบนพื้นฐานของกฎหมายที่ยอมรับกันโดยทัดเทียมกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ประเทศโปแลนด์ ได้เสนอให้มีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้นก่อนปีเด็กสากล พ.ศ. 2522 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้ผ่านการ พิจารณาของคณะทำงานองค์การสหประชาชาติ และได้รับรองจากประเทศต่าง ๆ ในการประชุมสมัชชาใหญ่ สหประชาชาติในเดือนพฤศจิกายน 2532 ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้มีทั้งหมด 54 ข้อ โดยมีหลักทั่วไปเป็นการ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในส่วนบุคคล การแสดงความเห็น ศาสนา วัฒนธรรม ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย เดียวกัน มุ่งคุ้มครองการถูกละเมิดสิทธิเหนือร่างกาย ชีวิต และเสรีภาพ ให้มีการเยียวยา ฟื้นฟู เด็กที่ถูกกระทำ ละเมิดให้กลับคืนสู่สภาพปกติ การคุ้มครองเด็กให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการของ เด็กให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพและได้รับการประกันสังคม การศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ มีมนุษย สัมพันธ์อันดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสภาพแวดล้อม การคุ้มครองสิทธิทางแพ่งให้ได้รับสิทธิใน การเป็นพลเมืองของรัฐ การคุ้มครองสิทธิการกระทำความผิดทางอาญาให้ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจาก ผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ และหลักประกันมิให้เด็กต้องรับโทษตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต รวมทั้งการคุ้มครอง เด็กด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแลและอุปการะเลี้ยงดูเท่าเทียมเด็กทั่วไป (สมพงษ์ จิตระดับ & อัญญมณี บุญซื่อ, 2551) การคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเด็กและเยาวชน ตาม พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 4 ได้ บัญญัติว่า “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกินกว่าอายุที่กำหนดไว้ตามมาตรา 73 แห่งประมวลกฎหมาย อาญา แต่ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ และ “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง สิบแปดปีบริบูรณ์ กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนใน วันที่การกระทำความผิดเกิดขึ้น (มาตรา 5) และให้ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด (มาตรา 10 (1)) (ส่วนส่งเสริมและวิชาการศาลเยาวชนและ ครอบครัวกลาง, 2560)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3