การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

42 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 4 บัญญัติว่า “เด็ก “ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุ ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส และมาตรา 5 บัญญัติว่าให้ศาลที่มี อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ ( พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 , 2546) พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ได้วางหลักในการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนในการกระทำผิด ทางอาญาไว้ว่าหากเด็กและเยาวชนที่มีอายุยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ได้กระทำผิดทางอาญาให้พิจารณาคดีโดย ศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ถ้าหากว่าเด็กและเยาวชนที่มีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์แล้วได้กระทำความผิดในทาง อาญาก็ให้พิจารณาคดีในศาลสถิตยุติธรรมโดยทั่วไป สรุป สิทธิเป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ เสรีภาพและทรัพย์สิน เป็น ประโยชน์หรืออำนาจในการตัดสินใจของมนุษย์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิด ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือข้อตกลงร่วมกันของ ประชาคมโลกในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของมนุษยชนทุกคนเพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเสรี เท่าเทียม และมีศักดิ์ศรี ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และเข้าเป็นภาคี สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้เกิดพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามปฏิญญาและ สนธิสัญญาดังกล่าวและได้นำข้อตกลงมาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตังแต่ฉบับปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ของประเทศได้ประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนมาแล้วจำนวน 3 ฉบับ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2565) ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดให้ สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพเป็นสิทธิพื้นฐานของบุคคลในการดำรงชีพเพื่อความมั่นคงทางด้าน เศรษฐกิจของบุคคลโดยทั่วไป หากการประกอบอาชีพนั้นไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน รัฐไม่ควรจำกัดสิทธิของบุคคลในการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและ สังคมในปัจจุบันที่ทุกคนจะต้องดิ้นรนเพื่อความมั่นคงของครอบครัว รัฐควรเปิดโอกาสให้บุคคลทุกคนที่มีวุฒิ ภาวะ และความสามารถรับผิดชอบได้ตัดสินใจดำเนินชีวิตด้วยตนเอง และประกอบอาชีพให้เร็วขึ้นไม่ควรจำกัด สิทธิและเสรีภาพดังกล่าว ควรปรับปรุงกฎหมายในส่วนของการบรรลุนิติภาวะให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปี สามารถ ใช้สิทธิได้อย่างอิสระเช่นบุคคลบรรลุนิติภาวะเพื่อเป็นการขยายสิทธิของบุคคลให้มากขึ้น เป็นการรองรับการ เปลี่ยนแปลงของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3