การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

44 ผู้ประกอบอาชีพนั้นจะมีทักษะในการทำงานมากหรือน้อยกว่าบุคคลอื่นที่อยู่ในอาชีพเดียวกัน ทักษะทั้ง 4 ระดับเป็นดังนี้ ทักษะระดับที่ 1 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ทักษะระดับที่ 2 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ทักษะระดับที่ 3 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาสายอาชีพ ปวช. ปวส. อนุปริญญา ทักษะระดับที่ 4 หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป (นคร ศิลปะอาชา. 2544) ปัจจุบันการประกอบอาชีพเปลี่ยนแปลงไปจากผู้ประกอบอาชีพต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับ ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถประกอบอาชีพได้แม้ไม่จบการศึกษา เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้น้อยและการศึกษา ต่ำ เช่น คนงานเย็บผ้า คนขับรถบรรทุก พนักงานแคชเชียร์ พนักงานบัญชี และนักบัญชี เป็นต้น การ เปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ที่ เรียกว่า Gig Economy คือระบบเศรษฐกิจที่ ประกอบด้วยงานครั้งคราว หรืองานรับจ้างจบเป็นครั้ง ๆ ไป Gig Economy จึงมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อ การเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจ และในอนาคตจะเป็นระบบหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจ ของโลก สำหรับประเทศไทยระบบเศรษฐกิจแบบ Gig Economy กำลังเข้ามามีบทบาทและเติบโตอย่างต่อเนื่อง แรงงานในระบบจึงเป็นแรงงานที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นประเทศ ไทยควรมีการปรับตัวทั้งภาคธุรกิจ ภาคแรงงาน และภาครัฐเพื่อรองรับวิธีการทำงานรูปแบบใหม่และกลุ่มงาน อิสระดังกล่าว ไม่ว่าอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปในรูปแบบลักษณะใด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ พัฒนาทักษะของประชากรมีอยู่ให้มีความเชี่ยวชาญ มีความรอบรู้รอบด้าน และพร้อมที่จะเผชิญกับความไม่ แน่นอนอยู่เสมอ (พิมพ์ธัญญา ฆ้องเสนาะ., 2561) การสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม คือ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการลงทุนด้านการศึกษา งานวิจัยและพัฒนา ด้านสารสนเทศ การสื่อสารโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ ดังนั้นแรงงานในอนาคตจะต้อง มีความรู้และคุณวุฒิสูงขึ้น คุณสมบัติของแรงงานยุคใหม่จะต้องมีความเข้าใจตนเอง มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต การทำงานร่วมกันเป็นทีม สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมองภาพรวมทั้งระบบ มีการคิดวิเคราะห์รอบด้าน การคิด แบบเจ้าของ และการคิดต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ ซึ่งในกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องพัฒนางานที่ เทคโนโลยีทดแทนได้ยาก เช่น งานที่ใช้ความละเอียด ใช้ประสาทสัมผัสและมือ (Hand) งานที่ใช้ความคิด สร้างสรรค์ (Head) และงานที่ใช้ความฉลาดทางสังคม (Heart) ได้แก อาชีพแพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย ครู นักการเมือง นักสื่อสารมวลชน ผู้ให้บริการสอบถามข้อมูล เป็นต้น (การสัมมนาระดมความเห็นการเปลี่ยนแปลง ของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล (Digital Labour & Market Transformation), 2561) คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในโลกของการพัฒนาทางด้านดิจิทัล ทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการสื่อสาร การเข้าถึงข่าวสารที่สะดวกรวดเร็วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นยุคสังคมสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3