การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
47 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่การประกอบอาชีพ และเป็นนักธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเข้าสู่ผู้สูงอายุสามารถมีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพในวัยเกษียณโดย ไม่ต้องพึ่งพาการเลี้ยงดูจากบุตรหลานและรัฐต่อไป 2.8 หลักการว่าด้วยแนวคิดใหม่ 2.8.1 ความหมายและการเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ คำว่า “แนวคิด” (Concept) หมายถึง ความคิดที่มีแนวที่จะดำเนินการต่อไป (สำนักงานราช บัณฑิตยสภา, 2554c) คำว่า “ใหม่” หมายถึง เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มี เมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้ว กลับไปนอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่ (สำนักงานราช บัณฑิตยสภา, 2554c) เมื่อนำคำว่า “แนวคิด” กับคำว่า “ใหม่” มารวมกัน เป็นคำว่า “แนวคิดใหม่” มีผู้ให้ความหมายเพื่อ นำมาใช้ในการทำงานให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่นคำว่า “Innovation” หรือนวัตกรรม มีราก ศัพท์มาจาก Innovare ในภาษาลาติน หมายถึงทำสิ่งใหม่ขึ้นมาโดยมุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์ การวิจัย และการ พัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อำนาจ วัดจินดา, 2560) ดังนั้น Innovation หมายถึง แนวคิดใหม่ หรือการใช้ประโยชน์ที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ ๆ ในการทำงาน โดย Innovation สามารถแบ่งได้เป็น Radical Innovation หมายถึงการนำสิ่งใหม่เข้าสู่สังคมโลก ด้วยการเปลี่ยนค่านิยมหรือความคิดแบบเดิม ออกไปอย่างสิ้นเชิง เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นระบบที่ทำให้แนวคิดเดิม ๆ ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ เป็นไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ผู้คนโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างรวดเร็ว สะดวก และมีความหลากหลาย ของข้อมูล นวัตกรรมอินเตอร์เน็ตทำลายค่านิยมแบบเดิม ๆ ไป (Proton Europe, 2017) เกิดเป็นยุค New Normal ทำให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากการเป็นอยู่ที่ปกติแบบเดิม ๆ ไปเป็นรูปแบบใหม่ในทุก ๆ ด้าน รศ. มาลี บุญศิริพันธ์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ระบุว่าราชบัณฑิตยสภาได้ บัญญัติศัพท์ "New Normal" หมายถึงความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่าง ใหม่ที่แตกต่างจากอดีตอันเนื่องมาจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคย อย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ( New Normal คืออะไร , 2563) การเปลี่ยนแปลงแนวคิด คือกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงหรือแทนที่ที่มีอยู่ด้วยแนวคิดใหม่ อาจเป็น ความคิด ความเชื่อ หรือวิธีคิด การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเป็นการพัฒนามาจากกลุ่มนักวิจัย และนักปรัชญาด้าน การศึกษาวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ในช่วงทศวรรษที่ 80 ทฤษฎีพื้นฐานมาจากแนวคิดของเพียเจต์ เรื่องความไม่สมดุลและการพักตัว และคำอธิบายของโธมัส คุห์นเกี่ยวกับการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การ เปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในการศึกษาวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับการปรับแต่งโดย Posner
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3