การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

48 ,Strike,Hewson และ Gertzog ในปี 1982 และนำไปใช้กับการสอนในห้องเรียน Posner และคณะแสดงให้เห็น ว่าการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดแบบคลาสสิกนั้นคล้ายกับแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคุห์นและ แนวคิดเพียเจต์ในเรื่อง Assimilation, Accommodation, Disequilibrium การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดแบบ คลาสสิกแสดงให้เห็นว่าความไม่พอใจหรือความขัดแย้งทางปัญญาของนักเรียนเกิดขึ้นเมื่อความเชื่อและ แนวความคิดในกรอบความคิดที่มีอยู่ไม่เป็นไปตามแนวคิดใหม่ ดังนั้น นักเรียนจะต้องค้นหาแนวคิดที่ชาญ ฉลาด มีเหตุผล และมีผลเพื่ออธิบายแนวคิดใหม่ที่อาจแทนที่หรือหลอมรวมเข้ากับแนวคิดเก่า ( Theory of Conceptual Change , 2021) 2.8.2 ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดแนวคิดใหม่ในประเทศไทย ประวัติศาสตร์การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยมีมาเป็นระยะเวลานาน ส่งผลกระทบประเทศ และ ประชากรภายในประเทศ ในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อรองรับและแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าว เมื่อย้อนไปยัง อดีตวิกฤตเศรษฐกิจที่สามารถรับรู้ได้จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ “วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 เป็นวิกฤต ทางด้านค่าเงินและสถาบันการเงิน มีสาเหตุมาจากการสะสมความเสี่ยงในช่วงก่อนหน้าจนนำไปสู่วิกฤตดังกล่าว ถือเป็นจุดเปลี่ยนให้ประเทศไทยเกิดการปฏิรูปขนานใหญ่ในทุกมิติ ต่อมาในปี 2551 เกิดวิกฤตการเงินขึ้นทั่ว โลกที่รู้จักกันในชื่อ “แฮมเบอร์เกอร์”หรือ “วิกฤตซับไพรม์”เกิดจากการล้มละลายของสถาบันการเงินของ สหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกัน และในปี 2554 ประเทศไทย ได้เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่เป็นการซ้ำเติมปัญปัญหาต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องมาและยังไม่สามารถดำเนินการ แก้ปัญหาได้สำเร็จ ผลจากวิกฤตที่กล่าวมาแล้วนั้นทำให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้ง สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบัน (เสาวณี จันทะพงษ์ & นิธิสาร พงศ์ปิยะไพบูรณ์, 2560) จากปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในวัยสูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา และดำเนินไปอย่างช้า ๆ กำลังจะเกิดเป็นวิกฤตใหม่ในปัจจุบัน ที่เรียกว่า “สังคมสูง วัย”โดย 1 ใน 10 ของประชากรไทยจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและคาดระเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2564 คือ คือสังคมที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และ เข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดภายใน พ.ศ. 2574 โดยประมาณการว่าจะมีประชากรสูงอายุร้อยละ 28 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ผลที่เกิดขึ้นและเป็นปัญหาตามมาคือการขาดแคลนแรงงานในอนาคตในทุกภาค ส่วน ทั้งการผลิตและการบริการ ประกอบกับแนวโน้มการแต่งงานของประชากรวัยเจริญพันธ์ช้าลง เป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในวัยเด็กไม่ทันกับอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุ ผลกระทบด้านงบประมาณภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุสำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 รัฐบาล จัดสรรงบประมาณสำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 21,963,075,000 บาท จนถึงปัจจุบันใช้งบประมาณ 66,359,650,800 บาท และงบประมาณด้านสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนผู้สูงอายุ (กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2562)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3