การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
49 การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เริ่มเกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2562 และประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อเดือนมกราคม 2563 เป็นหญิงชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และติดต่อไปยังผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยเป็น ผู้ประกอบอาชีพขับแท็กซี่ให้บริการกับผู้ป่วยชาวจีน ในระยะต่อมาจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างช้า ๆ (กระทรวงสาธารณสุข, 2564) ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อครัวเรือนในประเทศไทย จากการออกมาตรการด้าน สาธารณสุข การคุ้มครองทางสังคม หรือนโยบายการคลังเพื่อควบคุมการติดเชื้อ ในปี พ.ศ. 2563 จากการออก พระราชกำหนดเงินกู้จำนวน 1 ล้านล้านบาทในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ส่งผลให้อัตราความยากจนเพิ่มขึ้น จากเดิมร้อยละ 0.2 จากร้อยละ 6.2 ในปี พ.ศ. 2562 เป็นร้อยละ 6.4 ในปี พ.ศ. 2563 หากปราศจากการเยียวยา อัตราความยากจนจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.4 จากการคาดการว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวในปี พ.ศ. 2564 ประเมินว่าจะไม่สามารฟื้นตัวคืนสู่ระดับเดิมจนถึงปี พ.ศ. 2566 ทำให้กลุ่มเปราะบางต้องแบกรับภาระมากกว่า กลุ่มอื่น จากการสำรวจแบบเร่งด่วนทางโทรศัพท์ของธนาคารโลกร่วมกับแกลลัพ โพล (Gallup Poll) ได้ทำการ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน ถึง วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นการสัมภาษณ์ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 2,000 คนผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Computer Assisted Telephone Interviews) ซึ่งผู้ให้ ข้อมูลจะต้องตอบคำถามทั้งส่วนของตนเองและครัวเรือน อาทิ อาชีพการงานปัจจุบัน รายได้ ความมั่นคงทาง อาหาร การเข้าถึงบริการสุขภาพและวัคซีนโควิด-19 พบว่าจากาการระบาดในระลอกที่ 4 ปี พ.ศ. 2564 กลุ่ม เปราะบางที่ได้รับผลกระทบฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่น อัตราการจ้างงานโดยรวมของประเทศยังคงอยู่ที่ร้อยละ 68 นับแต่เริ่มมีการระบาด แต่การจ้างงานในภูมิภาคเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้คนหวนกลับสู่การเกษตร ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 50 กล่าวว่าจากการเปลี่ยนแปลงการทำงานทำให้ค่าตอบแทนลดลงส่งผลกระทบต่อครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ ผู้หญิง ผู้มีการศึกษาน้อย และผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีครอบครัวและบุตรหลานต้องแบก รับภาระด้านการเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70 บ่งชี้ว่าครัวเรือนประสบปัญหารายได้ลดลงส่งผลให้จำนวนผู้เข้ารับ สวัสดิการจากรัฐในปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี พศ. 2562 เกือบสองเท่า (Nadia Belhaj et al., 2021) จากการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) มาใช้วิเคราะห์ ประมวลผล และการตัดสินใจแทนมนุษย์ จะส่งผลกระทบต่ออาชีพในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ การบริการ รวมทั้งการศึกษา ในการนำหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่มนุษย์ในการทำงาน เกิดปัญหาการจ้างงานในอนาคตก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ตลาดแรงงานนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีระดับสูง ขณะที่แรงงาน ระดับร่างจะถูกชดเชยด้วยหุ่นยนต์และจักรกลมากขึ้น ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลอาจนำมาซึ่ง ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระหว่างผู้มีศักยภาพและผู้ขาดโอกาสในการเข้าถึง ความรู้ แหล่งเงินทุน และสวัสดิการทางสังคมทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทั้งรายได้ การแข่งขันทางด้านธุรกิจ ทำ ให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น ( เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ื13 , 2564)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3