การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

51 เกิดขึ้นหรือปัญหาที่ประสบมา ในบางครั้งจะต้องใช้เวลาในการยอมรับแนวคิดดังกล่าว อาธิ แนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง เป็นแนวคิดตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ ชาวไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นปรัชญาการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้สามารถพึ่งตนเอง ได้ และจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการบริหารประเทศของภาครัฐให้ดำรงอยู่ในทางสายกลาง อย่างมีเหตุผล เพื่อให้ก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานานแล้วแต่ไม่ได้ ถูกนำมาใช้จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อปี พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดเป็นวิกฤตเศรษฐกิจจาก ปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น จึงมีการยอมรับแนวคิด ดังกล่าวและเริ่มนำมาปฏิบัติโดยบัญญัติไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 จนถึงปัจจุบัน (มูลนิธิ ชัยพัฒนา, 2550) แนวคิดในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ กรณี COVID-19 ที่ เกิดจากไวรัส SAR-oV-2 มีการ แพร่กระจายสู่คนได้หลายวิธีส่วนใหญ่จะเป็นการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อใน บุคคลจึงมีข้อปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การรักษาระยะห่างจากผู้อื่น การสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ล้างมือบ่อย ๆ และรับการฉีดวัคซีน เป็นต้น (World Health Organization, 2021) และรัฐได้ออกนโยบายใน การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้ นโยบายเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ให้ประชาชน กักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน นโยบายอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ การปิดร้านค้า และสถานที่บางแห่งเป็นการชั่วคราว มาตรการการปิดเมือง ปิดจังหวัด และประเทศ เป็นต้น เห็นได้ว่ามีการยอมรับกับมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐใช้ในการ ควบคุมและการแพร่ระบาดของโรค (ทนงศักดิ์ เหมือนเตย & เด่นณรงค์ ธรรมมา, 2564) สรุป การปรับเปลี่ยนแนวคิดของบุคคลอย่างทันทีทันใดนั้นไม่สามารถจะกระทำได้นอกจากเกิดการ เปลี่ยนแปลงจากสภาวะแวดล้อมที่ทำให้บุคคลทุกคนยอมปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ชุมชนและ ประเทศ เช่นการเกิดโรคระบาดของไวรัสโคโรนา (COVED-19) ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตอย่าง ทันทีทันใดและสามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อทราบถึงเหตุผลในความจำเป็นต้องปฏิบัติ กรณีแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง แม้เป็นแนวคิดในการป้องกันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมไม่ให้เกิดความเสียหายก็ตามแต่ขณะที่เป็น แนวคิดนั้นยังไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเพื่อเป็นเหตุและผลในการปฏิบัติ ต่างจากการเกิดโรคไวรัสโควิด-19 ซึ่ง เกิดขึ้นและเป็นภัยต่อตนเองและประเทศจึงสามารถปฏิบัติได้ทันที แสดงให้เห็นได้ว่าการที่จะเปลี่ยนความคิด ของบุคคลให้ยอมรับในแนวคิดใหม่ในการกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะนั้น จะต้องประกอบไปด้วยเหตุผล สภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา เทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้จะเป็นซึ่งเหตุผลในการ ประกอบการตัดสินใจให้แนวคิดใหม่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป 2.9 การเปลี่ยนแปลงในยุคพลิกผัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมยุค Modernity มีหลายประเด็น เช่น โครงสร้างของสังคม เกิดการขยายตัวของ ประชากร การขยายตัวของสังคมเมือง การเกิดขึ้นของสถาบันต่าง ๆ ในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางด้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3