การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

52 เศรษฐกิจ การติดต่อสื่อสาร และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของประชากรอย่างรวดเร็วจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน การเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดและการลดของ อัตราการตายอันเป็นผลมาจากการเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์ เมื่อโครงสร้างของประชากรเพิ่มขึ้นสถาบัน ทางสังคมย่อมมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาความสมดุลของประชากรกับสังคมไว้ เกิดการปฎิวัติ อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรมีการอพยพประชากรจากชนบทเข้าสู่เมืองหลวงส่งผลให้ ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบครอบครัวขยายเปลี่ยนสู่สังคมเดี่ยวมากขึ้น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติลดลงเกิดสภาวะการหย่าร้างมากขึ้นด้วยอำนาจการตัดสินใจอย่างอิสระไม่ จำเป็นต้องพึ่งพาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำให้การตัดสินใจในการแต่งงานและการหย่าล้างง่ายขึ้นก่อให้เกิดปัญหาทาง สังคมเนื่องจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคมแต่เดิมเกิดจากสถาบันครอบครัวเป็นผู้อบรมสังสอนปัจจุบัน เปลี่ยนไปสู่สถาบันการศึกษาเป็นผู้อบรมสั่งสอนแทน เกิดกระบวนการขัดเกลาสังคมจากเดิมที่ไม่เป็นรูปแบบ ทางการสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบอย่าเป็นทางการมากขึ้น เป็นการปรับโครงสร้างของสังคมจากอดีตสู่ สังคมในยุคปัจจุบัน (ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล, 2559) 2.9.1 ความหมายยุคพลิกผัน ยุคพลิกผัน ในภาษาไทยไม่มีการบัญญัติความหมายของคำดังกล่าวไว้ แต่เมื่อนำคำว่า ยุค หมายถึง น. คราว,สมัย,เช่น ยุคมืด ยุคหิน (ป.,ส.) และคำว่าพลิกผัน ไม่พบการบัญญัติความหมายไว้ (สำนักงานราช บัณฑิตยส ภา , 2554b) จึงต้องนำความหมายมาจากภาษาอังกฤษ คือคำว่า “Modern Era” หมายถึง ยุค สมัยใหม่ มาจากคำว่า “Modern” หมายถึง adj. สมัยใหม่, ยุคใหม่, สมัยปัจจุบัน, ทันสมัย และคำว่า “Era” หมายถึง n. ยุค, สมัย (AddNine ดิกชันนารี, 2022) เมื่อนำคำว่า “สมัยใหม่” มาแปลตามพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 มีความหมายแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ (1) น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. (2) ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่ ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงยุคพลิกผันย่อมหมายถึงยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคล ครอบครัว รวมถึง สภาพแวดล้อมเป็นไปอย่างฉับพลันอันเนื่องมาจากโรคอุบัติใหม่ เกิดเป็นยุค “New Normal”ได้ถูกนำมาใช้ ครั้งแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ชาวอเมริกัน จากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ระหว่างปี 2007- 2009 ดังนั้นคำว่า “New Normal” จึงถูกนำมาใช้เพื่อกล่าวถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลงและ คาดว่าจะไม่กลับมาเติบโตในระดับเดิมอีกต่อไป (นิตยาภรณ์ มงคล, 2563) 2.9.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ เป็นสภาวะของโลก ยุ คใหม่ที่ เรียกว่ า “The New Normal” การเปลี่ ยนแปลงดั งกล่ าวถูกเรียกว่ า“Disruption”และ “Disruptive”ทั้งสองคำปรากฏอยู่ในด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย คำว่า “Disruptive” อาจแปลได้เป็น พลิกผัน ผันผวน หรือแม้แต่ทำลาย อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า Disruptive แสดง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3