การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

53 ลักษระของเทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันจากภายในสู่ภายนอก ส่วนคำว่า “Disruption” แสดงผลกระทบทางเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันในสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น Disruption เท่ากับการรื้อทำลาย เพราะต้องทำความเข้าใจบริบทแวดล้อมด้านผลกระทบที่เทคโนโลยีใหม่มีต่อชีวิตมนุษย์ การทำลายแบบนี้หมายถึงการรื้อทำลาย “สิ่งสร้าง” และ “เรื่องราว” ของชีวิตมนุษย์ในยุคที่ผ่านมา พร้อมทั้ง ผลักไส “ความเป็นจริง” อื่นที่เข้าไม่ได้กับความเป็นจริง (สุมาลี มหณรงค์ชัย, 2562) ปัจจัยที่ทำให้เกิดยุค Disruption คือ 1) การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคม ซึ่งต่างจากอดีตที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็นผล มาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องความรวดเร็วในการสื่อสาร 2) การศึกษาที่มีการนำเอา ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีตมาประยุกต์ใช้ในการทำงานของคนรุ่นใหม่ 3) ความเชื่อมั่นของคน รุ่นใหม่ที่มีแนวทางในการมองโลกที่แตกต่างไปจากเดิมไม่ต้องการเดินตามแนวทางที่สังคมรุ่นเก่าได้ดำเนินมา 4) การรับรู้ข่าวสารข้อมูลที่มากขึ้นและรวดเร็วทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มองโลกได้กว้างขึ้นในหลาย ๆ มุม (k.boonyen, 2020) การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ทดแทนแรงงานมนุษย์ทั้งทางด้านการผลิต และการ บริการ ล้วนเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตของคนไทยที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์อย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด ทำให้แรงงานไทยในยุค Digital Disrupt เกิดข้อวิตกกังวลในการปรับตัวครั้งใหญ่ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น คาดว่าในปี 2573 ไทย อาจขาดแคลนแรงงานชำนาญการทุกภาคส่วนธุรกิจ จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่าปี 2560 มีประชากรทั้งหมด 56.05 ล้านคน มีผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 37.22 ล้านคน มีงานทำ 36.65 ล้านคน แรงงานรอฤดูกาล 90,000 คน ผู้ว่างงาน 480,000 คน และผู้อยู่นอกกำลังงาน 18.83 ล้านคน ใน ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตกำลังคนด้านดิจิทัลออกมามาก เพราะมีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี ดิจิทัลมากกถึง 42.7 หลักสูตร ในสถาบันการศึกษาเกือบ 170 แห่งทั่วประเทศ โดยในปี 2560 มีการจ้างงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ICT รวม 268,065 คน ส่วนใหญ่เป็นช่างเทคนิคด้าน ICT และนักวิชาชีพ ICT เมื่อโลกธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ในการช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ มากขึ้น แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากยังต้องพึ่งพามนุษย์ในการขับเคลื่อนเป็นหลัก ล่าสุดเว็บไซต์จ๊อบไทยดอทคอม เปิดเผย 3 ทักษะที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้ ได้แก่ 1. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพราะสมองมนุษย์มีความซับซ้อนและความสามารถในการคิดได้ หลากหลายจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ 2. ทักษะทางสังคม การสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อกันและพึ่งพาอาศัยกันผ่านการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแสดงออก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น 3. ทักษะทางอารมณ์ มนุษย์มีความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นในการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิด ประโยชน์ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3