การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

55 ระบบการจัดการ EHR ระหว่างผู้ป่วยกับสถานพยาบาล การนำหุ่นยนต์มาช่วยในทางการแพทย์ เช่นหุ่นผ่าตัดที่ มีกล้อง หุ่นยนต์ที่ช่วยในการฉายแสงสู่อวัยวะที่ตรงจุด เป็นต้น (Jubs DB by seek, 2021) ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและทางการแพทย์อย่างรวดเร็วทำให้ แนวโน้มของประชาชนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยด้านแรงงานมีจำนวนลดลง การนำเอาเทคโนโลยีมาทดแทน แรงงานคน หรือการย้ายถิ่นของแรงงานต่างประเทศที่เพิ่มทวีมากขึ้นอย่างอิสระ การเผชิญกับปัญหาค่าใช้จ่าย ทางด้านสวัสดิการที่สูงเพื่อบริการสังคมด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ส่งผลให้การลงทุนและการออมของประเทศ ลดลง ขณะที่งบประมาณรายได้จากการเก็บภาษีลดน้อยลงด้วย สาเหตุเกิดจากวัยเกษียณเพิ่มสูงขึ้นแต่วัย ทำงานมีน้อยลง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557) การที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะสังคมสูงวัยโดยมี สาเหตุจาก 1) อัตราการเกิดต่ำ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราการเกิดอยู่ที่ 17 คนต่อปี ต่อผู้หญิง 1 คน ซึ่ง ต่ำกว่าอัตราการเกิดเฉลี่ยของประชากรโลก 2.5 คน ต่อผู้หญิง 1 คน 2) จากการพัฒนาเศรษฐกิจ และการศึกษา ทำให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นมีการเป็นอยู่ที่ดี การใช้เวลาจากการทำงานมากกว่าการมีครอบครัวหรือมีลูก และเกิดจากนโยบายควบคุมจำนวนประชากรเป็นเหตุให้ประชากรวัยแรงงานลดลง 3) ความก้าวหน้าทางด้าน เทคโนโลยีและการแพทย์ส่งผลให้ประชาชนมีอายุยืนขึ้น 4) ผลของยุค Baby Boomer ชึ่งเป็นช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีอัตราการเกิดของประชากรสูงจนกลายเป็นผู้สูงวัยในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มี การศึกษาแนวทางการปรับตัวเข้าสู่สังคมสูงวัยจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ สิงคโปร์เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีการเข้าสู่สังคมสูงวัยและมีบริบทใกล้เคียงกับประเทศไทยทั้งด้านโครงสร้าง ของประชากร สังคม และวัฒนธรรม พบว่านโยบายการแก้ปัญหาโดยการมุ่งส่งเสริมการมีโอกาสในการทำงานให้ มากขึ้น ได้แก่ การขยายอายุเกษียณ การเพิ่มทักษะให้แก่แรงงาน และสนับสนุนให้ผู้หญิงทำงานมากขึ้น ทั้งนี้ จากการศึกษานโยบายดังกล่าวคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย โดยเฉพาะ นโยบายด้านแรงงานสามารถสร้างความมั่นคงทางรายได้ของผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอกับค่าใช้จ่าย หลังเกษียณ (จารี ปิ่นทอง et al., 2561) 2.9.4 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สำหรับประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และมีการคาดการณ์ไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2564 สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20-30 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าในจำนวนประชากร 100 คน จะมีผู้สูงอายุประมาณ 30 คน และคาดว่าปี พ.ศ. 2568 สังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อปัญหาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม จากจำนวนสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นขณะที่วัยทำงานเท่าเดิมหรือ ลดลง เกิดการขาดแคลนแรงงาน จึงมีการใช้เครื่องจักรหรือนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคน หรือมีการ นำเข้าแรงงานต่างด้าวมากขึ้น เมื่อวัยสูงอายุหรือวัยเกษียณขาดรายได้หรือมีรายได้น้อยลงทำให้การออมลดลง วัยทำงานต้องรับภาระมากขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข การแพทย์ สวัสดิการเพื่อ บริการทางสังคม ทำให้การลงทุนและการออมของประเทศลดลงตามไปด้วย (กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนา ศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ, 2564)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3