การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
56 ผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้รัฐบาลจะต้องเตรียมการรองรับ ต่อปัญหาแรงงานที่มีแนวโน้มลดลง มีการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกกฎหมาย และ แรงงานที่ลักลอบเข้ามาจำนวนมาก ผลกระทบของแรงงานต่างด้าวต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะตลาดแรงงานหาก แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยมีคุณลักษณะเหมือนกันและสามารถทดแทนกันได้ เมื่อแรงงานไทยไม่สามารถ เคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่อื่นได้ และผู้ผลิตไม่เปลี่ยนแปลงการผลิต การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวย่อมมีผลให้ ค่าจ้างแรงงานลดต่ำลง แต่ความเป็นจริงแรงงานต่างด้าวมีการศึกษาน้อย ส่วนใหญ่ทำงานเกษตรกรรม ประมง และการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันเป็นงานที่คนไทยไม่ทำแล้ว (กิริยากุลกลการ, 2553) ปัญหาแรงงานต่างด้าวไม่ได้ เริ่มเกิดขึ้น แต่เกิดมามากว่า 10 ปีแล้วจากการขาดแคลนแรงงานของคนไทย ที่ทำให้ต้องมีการนำเอาแรงงาน ต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาทำงานทดแทนแรงงานไทย และทำให้มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากเข้ามา ทำงานในประเทศโดยผิดกฎหมาย การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่คนไทยไม่ยอมทำแล้วในหลายๆ ครั้ง ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมหลายประการ เช่น ฆาตกรรมหรือการปล้น จี้ นายจ้าง หรือเด็กเกิดใหม่ในประเทศ ไทย ตลอดจนการเข้ารักษาพยาบาลตามสถานพยาบาลของรัฐที่เป็นภาระต่อประเทศ การเคลื่อนย้ายของ แรงงานต่างด้าวทำให้เกิดปัญหาทางสังคมและปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่นการเกิดของบุตรหลานแรงงานต่างด้าว โรคภัยหลายประเภทที่มากับแรงงาน หรือภาระการดูแลรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ (อาภรณ์ ชีวะ เกรียงไกร, 2560) การขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยโครงสร้างการผลิตของ ไทยยังต้องการแรงงานทักษะต่ำและแรงงานนอกระบบจำนวนมาก แต่ปริมาณของวัยทำงานลดลง ทำให้แรงงาน ระดับล่างของไทยขาดแคลน มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ตลาดแรงงานภาคการผลิตและ ภาคการบริการมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและระบบค่าตอบแทนที่ ไม่สอดคล้องกับผลิตภาพแรงงาน ทำให้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมามีการจ้างแรงงานข้ามชาติทักษะต่ำสูงขึ้น ทำ ให้เกิดการไหลเข้ามาของแรงงานข้ามชาติอยู่ในระดับที่สูง ติดอันดับที่ 17 ของโลกและถือเป็นอันดับหนึ่งใน กลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยเหตุที่ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านประมาณ 3 เท่าตัวจึง เป็นตัวแปรสำคัญในการดึงดูดแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานเมียนมา กัมพูชา และลาว (กองเศรษฐกิจ การแรงงาน กลุ่มงานนโยบายเศรษฐกิจการแรงงานระหว่างประเทศ, 2564) จากสถิติแรงงานต่างด้าว ณ เดือน กันยายน 2564 มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในราชอาณาจักร มีจำนวนทั้งสิ้น 2,274,501 คน (สำนัก บริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน, 2564) ทำให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานไร้ฝีมือ แรงงานหนุ่มสาว และ แรงงานในภาคเกษตร ของประชากรไทย เนื่องจากอัตราค่าจ้างของแรงงานข้ามชาติราคาถูกกว่าแรงงานไทยที่ ถูกกำหนดโดยค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย ส่งผลให้เกิดอัตราว่างงานของแรงงานไทยสูงขึ้น 2.9.5 การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด-19 ก่อให้เกิดความกังวลกับประชากรภายในประเทศ ทั้งความ กังวลจากการติดต่อของโรค ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การระบาดทำให้มี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3