การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
57 ผู้ติดเชื้อจำนวนมาก กระจายไปหลายจังหวัด การควบคุมการแพร่ระบาดไม่สามารถกระทำได้อย่างง่าย ทำให้ เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยมีการปิดเมืองต่าง ๆ เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เกิดการหยุดชะงักทาง เศรษฐกิจ กิจการต่าง ๆ เริ่มปิดตัวลง เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงาน จาการประมาณการของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ผู้คนตกงานเป็นจำนวนมากทำให้รายได้ในการหาเลี้ยงครอบครัวพบว่าการระบาดในรอบสองมี ผลกระทบต่อแรงงานจำนวน 47 ล้านคน โดยจำนวน 1.1 ล้านคนมีความเสี่ยงที่จะตกงาน และอีก 3.6 ล้านคนมี ความเสี่ยงที่รายได้จะลดน้อยลง หรืออาจไม่มีพอต่อการดำรงชีวิต ผลกระทบดังกล่าวทำให้รัฐต้องเข้ามา ดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากการว่างงานทำให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ ลดลง ด้วยเหตุว่ารัฐบาล มุ่งเน้นมาตรการที่มีความจำเป็นในด้านสาธารณสุขเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคดังกล่าว ซึ่งเป็นผลกระทบ ต่อบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง (สมชัย จิตสุชน, 2021)จากการสำรวจภาวะการทำงานของ ประชากร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า จำนวนกำลังแรงงานทั้งสิ้น 38,41 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 37.63 ล้านคน ผู้ว่างงาน 4.19 ล้านคน กำลังรอ ฤดูกาล 3.60 แสนคน ผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน 18.34 ล้านคน ได้แก่แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น ภาวการณ์ทำงานของประชากรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป 56.75 ล้านคน จำนวนการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562 มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.19 แสนคน ผลกระทบจากวิกฤต โควิด-19 ทั้งด้านลบและด้านบวกที่มองเห็นได้ในด้านลบ คือ ด้านสุขภาพ มี ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก ด้านสังคม เกิดการแตกแยกและตื่นกลัวในช่วงการระบาดแรก ๆ และทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ GDP ของประเทศไทยปรับตัวลดลงถึง -6.7% ผลกระทบทางด้านบวก คือ ศักยภาพของระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การตื่นรู้ ของประชาชน และการกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาค (สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ, 2564) สรุป ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุคพลิกผันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนโครงสร้างของจำนวน ประชากรภายในประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเคลื่อนย้ายแรงงานของประเทศ เพื่อนบ้าน สิ่งที่ส่งผลตามมาจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้การดำรงชีวิตของประชากรมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการว่างงาน และการมีรายได้ลดลง ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อค่าครองชีพในครัวเรือนเพื่อให้ ครอบครัวสามารถดำรงอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้ ผู้เยาว์เข้าสู่การใช้แรงงานเร็วขึ้นเห็นได้จากประชากรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปเข้าสู่การทำงาน 56.75 ล้านคน เพื่อรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัวมากยิ่งขึ้น รัฐควรกลับมามอง ถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวด้วยการให้โอกาสผู้เยาว์ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจใน ครัวเรือนโดยการสนับสนุนให้ผู้เยาว์ที่มีความสามารถ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพอย่างบุคคลที่บรรลุนิติ ภาวะเพื่อเป็นการสร้างรากฐานของเศรษฐกิจภายในครัวเรือน และรองรับการชดเชยแรงงานที่ขาดหายไปจาก การเข้าสู่สังคมสูงวัย และการย้านแรงงานข้ามถิ่น เพื่อให้เกิดความมันคงของประเทศต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3