การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

58 2.10 กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย กฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีและใช้ควบคู่ไปกับสังคม เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ภายในสังคมนั้น ปรัชญากฎหมายจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างนิยามและคุณค่าแก่กฎหมาย ทำให้สามารถ นำมาใช้ในการกำหนดการดำเนินชีวิตตามครรลองที่ยั่งยืน การศึกษาปรัชญากฎหมายจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการ สร้างกฎระเบียบขึ้นภายในสังคมด้วยความถูกต้องและชอบธรรม ในการศึกษาความคิดทางกฎหมายของสำนัก ความคิดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลในช่วงเวลาที่แตกต่างกันเพื่อแสวงหาความรู้ หลักการพื้นฐาน รายละเอียดของกฎหมายในปัจจุบัน 2.10.1 หลักการบัญญัติกฎหมาย ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (School of Nature Low) กฎหมายธรรมชาติมีที่มาจากข้อสมมติซึ่ง เชื่อว่าในโลกนี้มีประมวลสัจธรรมทางจริยธรรมอยู่จริง ปัญหาจริยธรรมเป็นสิ่งท้าทายนักปรัญญาจริยศาสตร์มา ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งมีความสนใจในเรื่องการแยกความแตกต่างระหว่างความยุติธรรมตามธรรมชาติ (natural justice) กับความยุติธรรมตามจารีต (Conventional Justice) แต่พวกที่มีความเชื่อในทรรศนะเรื่อง กฎหมายธรรมชาติเป็นนักปรัชญาชาวกรีกสำนักสโตอิก โดยพวกเขายอมรับว่ากฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับ “เหตุผล” อาจสูญเสียความชอบธรรมได้ อย่างน้อยในทางทฤษฎี มุมมองของสำนักสโตอิกกลายเป็นแนวทาง สำหรับชาวโรมันในเวลาต่อมา ซิเซโร (Marcus Tullius Cicero) นักกฎหมายชาวโรมัญนำปรัชญาของสำนักสโตอิก (Stoic Philosoply) มาใช้เพื่อบ่งชี้ว่ากฎหมายธรรมชาติประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ กฎหมายที่ แท้จริงคือเหตุผลที่ชอบและสอดคล้องกับธรรมชาติ ใช้ได้เป็นสากล ดำรงอยู่ชั่วกาลนาน และไม่ผันแปล หลักการดังกล่าวเน้นย้ำถึงกฎหมายธรรมชาติมีความเป็นสากลไม่เปลี่ยนแปลง นักบุญมัส อะไควนัส (ST Thomas Aquinas 1225-1274) แห่งนิกายโดมินิกันได้จำแนก กฎหมายออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ กฎหมายนิรันดร์ (Eternal Law) กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (Divine law) และกฎหมายมนุษย์ (Human Law) อะไควนัสเชื่อว่ากฏหมายเป็นส่วนปประกอบของกฎเกณฑ์ที่ ใช้บังคับแก่การกระทำซึ่งประกาศใช้โดยผู้คอยรักษาผลประโยชน์ของชุมชน โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobber,1588-1679) กล่าวว่ากฎหมายธรรมชาติสอนให้มนุษย์ตระหนัก ถึงความจำเป็นในการรักษาชีวิตตน และเราจำเป็นต้องมีทั้งกฎหมายและรัฐบาลเพื่อที่จะรักษาระเบียบและ ความมั่นคงดังนั้นภายใต้สัญญาประชาคม เราจะต้องสละอิสรภาพตามธรรมชาติเพื่อสร้างสังคมที่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ ดังนั้น ปรัชญาของฮอบส์จึงมีลักษณะอำนาจนิยมโดยถือว่าความเป็นระเบียบเรียบร้อยสำคัญกว่า ความยุติธรรม ฮอบส์สรุปว่าเพื่อหลีกหนีความน่าสะพรึงกลัวของสภาพธรรมชาติ ความสงบสุขจึงเป็นกฎ ธรรมชาติข้อแรก กฎธรรมชาติข้อที่ 2 คือเราต่างสละสิทธิบางประการของเราเพื่อให้ได้มาซึ่งสันติสุข และกฎ ธรรมชาติข้อ 3 คือการเข้าผูกพันในสัญญาใช่ว่าจะเกิดสันติสุขขึ้นได้ หากแต่จำต้องปฎิบัติตามสัญญานั้นด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3