การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
59 จอห์น ล็อค (John Lock, 1632-1740) มีความเห็นว่าชีวิตก่อนมีสัญญาประชาคมคือสวรรค์เว้น แต่ข้อเสียอย่างเดียวคือสภาพตามธรรมชาติ การรักษาทรัพย์สินทำได้ยาก ซึ่งแตกต่างจากฮอบส์โดยสิ้นเชิง ทฤษฎีของล๊อคมีพื้นฐานอยู่ที่สิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ตามที่พระเจ้ากำหนด ทฤษฎีที่ปฏิวัติความคิดและเป็น ที่กล่าวขวัญถึงมากคือทฤษฎีที่รับรองสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยถือว่าโลกนี้เป็นของพระเจ้าซึ่ง ประทานแก่มนุษย์เพื่อใช้ประโยชน์ จึงไม่มีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินได้ เว้นแต่โดยการผสมแรงงานของ คนลงไปในวัตถุสิ่งของ ผู้ลงแรงจึงมีสิทธิในสิ่งที่ตนสร้างขึ้น ล็อคเห็นว่าสิทธิตามธรรมชาติที่จะมีเสรรีภาพยังถูก จำกัดโดยกฎธรรมชาติ ล็อคสนับสนุนการมีรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด โดยเชื่อว่าการคานอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่ใช้อำนาจรัฐ และการมีผู้แทนในสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ทำให้รัฐบาลเล็กลงแต่ทำให้ ปัจเจกชนมีเสรีภาพมากขึ้น ทฤษฎีของ ฌอง-ฌาคส์รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau,1712-1779) ได้รับอิทธิพลจากสัญญา ประชาคมมากกว่าจากกฎหมายธรรมชาติ แนวคิดของรุสโซผูกโยงกับแนวคิดอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) รุส โซถือว่าอำนาจอธิปไตยไม่เป็นเพียงอำนาจอันชอบธรรมในการปกครอง แต่เป็นการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุข ของส่วนรวมด้วย รุสโซยอมรับว่าสิทธิตามธรรมชาติบางประการที่รัฐไม่อาจพรากไปจากคนเราได้ แต่ด้วยการ มอบอำนาจนิติบัญญัติทั้งปวงให้แก่ “เจตจำนงทั่วไป” กฎหมายอาจลิดรอนสิทธิเช่นว่านั้นได้ ตราบที่รัฐบาล เป็นตัวแทนแห่ง “เจตจำนงทั่วไป” (แวคส์,เรย์มอนด์., 2564) สำนักกฎหมายบ้านเมือง หรือปฏิธานนิยม (Positive Law) แนวคิดสำนักนี้มีรากฐานมาจากนัก นิติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น จอห์น ออสติน (John Austin) เจอรีมี เบ็นทรัม (Jeremy Bentham) และได้รับการพัฒนาให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างแพร่หลายโดยเฮอร์เบริท ฮาร์ท (Herbert Hart) และโจเซฟ เรซ (Joseph Raz) เพื่อช่วยให้เข้าใจว่ากฎหมายของประเทศคือสิ่งที่เป็นอยู่และไม่ใช่สิ่งที่ควรจะเป็น (Law of the Land as it is and not as it ought to be) นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองจะถือว่า ผู้ให้กำเนิด กฎหมายคือ “รัฏฐาธิปัตย์” (Sovereign) คือมนุษย์ ดังที่ จอห์น ออสติน ได้อธิบายว่า “กฎหมาย คือคำสั่งคำ บัญชาของรัฏฐาธิปัตย์” จึงทำให้คำสั่งของบุคคลใด หรือองค์กรใดที่ไม่ใช่รัฏฐาธิปัตย์ จึงไม่อยู่ในความหมาย ของกฎหมาย แนวความคิดดังกล่าวจึงแตกต่างจากแนวความคิดของกฎหมายธรรมชาติ (natural law) จอห์น ออสติน เห็นว่า กฎหมาย ประกอบด้วยองค์ประกอบสามประการคือ อธิปไตยทาง การเมือง (Political sovereign) คำสั่งของผู้มีอำนาจ (Command) และการบังคับใช้หรือบทลงโทษ (Sanction) ดังนั้นอำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมที่แสดงความเป็นอิสระทางการเมือง ส่วนองค์ประกอบ ของคำสั่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่สร้างหน้าที่ด้วยการมีการบังคับใช้เพื่อให้มีการปฏิบัติตาม คำสั่งของผู้มีอำนาจจึง ไม่สามารถแยกออกจากหน้าที่และการบังคับใช้ได้ (เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล, 2556) ทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์ (The Pure Theory of Law) แนวคิดทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์ เสนอโดย นักกฎหมายและปราชญ์ชาวออสเตรีย Hans Kelsen (1881-1973) โดยอ้างกฎหมายดั้งเดิมในขณะนั้น มีการ ปนเปื้อนอุดมการณ์ทางการเมืองและศีลธรรม หรือมีความพยายามที่จะลดกฎหมายให้เป็นวิทยาศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3