การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
60 ธรรมชาติหรือสังคมศาสตร์ ในทางกลับกันเขาพบว่าความพยามลดทั้งสองมีข้อบกพร่อง เคลเซน แนะนำทฤษฎี กฎหมายที่ 'บริสุทธิ์' ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการลดทอนทุกชนิด นิติศาสตร์ Kelsen Propounded "ลักษณะตัวเองเป็น ทฤษฎี 'บริสุทธิ์' ของกฎหมายเพราะมีจุดมุ่งหมายเพื่อความรู้ความเข้าใจที่มุ่งเน้นไปที่กฎหมายเพียงอย่างเดียว" และความบริสุทธิ์นี้ทำหน้าที่เป็น "หลักการวิธีการพื้นฐาน" เคลเซน ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความถูกต้องตาม กฎหมายและการไม่สมบูรณ์ของกฎหมายโดยไม่ต้องพยายามลดนิติศาสตร์หรือ "วิทยาศาสตร์ทางกฎหมาย" เคล เซน ยังคงรักษาไว้ซึ่งการตีความ ตามความเป็นจริงหรือความเป็นกลางอยู่ในขอบเขตของความหมายทาง กฎหมายเป็นบรรทัดฐานกับการกระทำและเหตุการณ์บางอย่างเป็นแนวคิดของบรรทัดฐานพื้นฐานที่ทำหน้าที่ ทางทฤษฎีสามประการในทฤษฎีกฎหมายของเคลเซน ประการแรกคือการอธิบายที่ไม่ลดทอนความถูกต้องตาม กฎหมาย ประการที่สองคือการให้คำอธิบายที่ไม่ลดทอนลงเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของกฎหมาย ประการที่ สามคือการอธิบายลักษณะที่เป็นระบบของบรรทัดฐานทางกฎหมาย (David Grinstead, 2015) สรุป การบัญญัติกฎหมายในอดีตเกิดจากคำบังคับบัญชาของผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง และได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปตามยุคสมัย ด้วยการศึกษาของนักปรัชญาต่าง ๆ ในปัจจุบันยังคงใว้เฉก เช่นเดิมคือกฎหมายยังคงเป็นการใช้อำนาจของรัฎฐาธิปัตย์ จากการศึกษาทฤษฎีทางกฎหมายผู้วิจัยเห็นควรให้ บัญญัติกฎหมายในเรื่องการบรรลุนิติภาวะ ตามหลักทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (School of Nature Low) ทีว่า กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับ “เหตุผล” อาจสูญเสียความชอบธรรมได้ และทฤษฎีของรุสโซที่ว่าสิทธิตาม ธรรมชาติบางประการที่รัฐไม่อาจพรากไปจากคนเราได้ มาประกอบการพิจารณาในการบัญญัติกฎหมายดังกล่าว 2.10.2 หลักการคุ้มครองคู่กรณีในการทำนิติกรรมสัญญา แนวคิดเกี่ยวกับการบรรลุนิติภาวะจึงเป็นการกำหนดภาวะของบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มี ความสามารถในการใช้สิทธิทางกฎหมายเท่าเทียมกับบุคคลส่วนใหญ่ในสังคม การบรรลุนิติภาวะจึงเป็นไปตาม กฎหมายกำหนดซึ่งประเทศไทยกำหนดให้บุคคลบรรลุนิติภาวะเมื่อ 20 ปีบริบูรณ์ ส่วนบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติ ภาวะคือมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์เรียกว่า “ผู้เยาว์” ผู้เยาว์จะถูกจำกัดการใช้สิทธิของตนเองได้อย่างอิสระ เนื่องจากผู้ยังต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของของบิดา มารดา ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมในการคุ้มครอง ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมที่อาจถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีต่อผู้เยาว์ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยี การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ ทำให้ผู้เยาว์มีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบมากขึ้น การเข้าสู่ระบบแรงงาน การประกอบอาชีพ การทำธุรกิจของผู้เยาว์จึงมีความนิยมมากขึ้น แต่ความสามารถใน การทำนิติกรรมของผู้เยาว์นั้นไม่สามารถจะกระทำได้อย่างอิสระส่งผลต่อความเชื่อมั่นแก่บุคคลทั่วไปที่จะร่วม ทำธุรกิจกับผู้เยาว์ เพราะการทำธุรกิจนั้นจะต้องมีความเชื่อมั่น ความยุติธรรม และความสุจริตต่อกัน ดังนั้นใน การทำนิติกรรมต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาถึงหลักกฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงความเชื่อถือใน ข้อตกลงในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์และเกิดความเป็นธรรมให้แก่คู่กรณีในการกระทำข้อตกลงกับผู้เยาว์ หลักสุจริต เป็นหลักพื้นฐานของระบบกฎหมายทั่วไปในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลเพื่อ ความถูกต้องและเป็นธรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ได้บัญญัติว่า “ในการใช้สิทธิแห่งตน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3