การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

61 ก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต และมาตรา 6 บัญญัติว่า “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต” ดังนั้นหลักสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทจำกัดสิทธิของ บุคคลในการเข้าทำสัญญา หรือการแสดงนิติกรรมใด ๆ หรือการใช้สิทธิของตนต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่บุคคลอื่น คำว่า “สุจริต” (Bona fides หรือ Good faith) คำว่า “Bona fides” หมายถึง ความซื่อสัตย์ สัจจะอันชอบ ความไว้วางใจ ส่วน “Good faith” หมายถึง สภาวะทางจิตใจอันประกอบด้วย 1) ความซื่อสัตย์ 2) ความซื่อตรง 3) ความสอดคล้องกับมาตรฐานการค้าหรือธุรกิจใด ๆ 4) การไม่มีเจตนาหลอกลวงหรือแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ (ประทีป ทับอัตตานนท์, 2560) ในกฎหมายเอกชนหลักสุจจริตได้รับการยอมรับนับถือ อย่างแพร่หลายทั้งระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรและจารีตประเพณีด้วยการนำไปบัญญัติไว้ในกฎหมายไม่ เฉพาะกฎหมายสัญญา (Law of Contract) ตามแนวคิดของกฎหมายโรมันเพียงเท่านั้น แต่ยังนำไปใช้กับ กฎหมายหนี้ (Law of Obligation) กฎหมายประกันภัย (Law of Insurance) กฎหมายละเมิด (Law of Tort) กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน (Law of Property) กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Law) ฯลฯ การแพร่หลายของหลักสุจริตเป็นผลมาจากคำวินิจฉัยของศาลในประเทศเยอรมันภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง (พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, 2556) หลักจำกัดความเป็นอิสระของเจตจำนงในสัญญา (Limits to The Autonomy of will in Contracts) เป็นหลักพื้นฐานในกฎหมายเกี่ยวกับสัญญา ที่ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงที่จะควบคุมผลประโยชน์ ของตนได้อย่างอิสระและสร้างความสัมพันธ์ทางกฎหมายที่คู่สัญญาเห็นสมควรในการทำสัญญา ไม่สามารถ กล่าวได้ว่าสัญญามีผลเพียงเพราะเป็นการแสดงถึงเจตจำนงของคู่สัญญาเท่านั้น แต่ เพื่อให้นิติกรรมมีผล ระหว่างคู่สัญญานั้นจะต้องมีการยอมรับในกฎหมายด้วย ดังนั้นจึงควรสังเกตว่ามีข้อห้ามอะไรที่ไม่ให้เจตจำนง ของคู่สัญญามีผลสมบูรณ์ โดยหลักทั่วไปในการทำสัญญานั้นจะต้องไม่ตกลงกันในสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และความสงบเรียบร้อยของประชาชน (Cobo Aragonesses & Jose Luis, 2020) หลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of Contract) สัญญา คือเอกสารทางกฎหมายที่สรุป รายละเอียดข้อตกลงระหว่างสองฝ่ายขึ้นไปสำหรับแลกเปลี่ยนบริการและ/หรือสินค้า ระบุเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ อย่างชัดเจนและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเหตุผลอื่นโดยนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในเอกสาร เสรีภาพใน สัญญา เป็นการให้สิทธิแก่ผู้คนในการให้คำมั่นสัญญาส่วนตัวต่อกันโดยรัฐจะเข้าไปแทรกแซงน้อยที่สุด ทฤษฎีความยุติธรรม (Theories of Justice) นักปรัชญาทางศีลธรรมและการเมืองชาวอเมริกัน John Rawls ได้อธิบาย ทฤษฎีความยุติธรรมของเขาว่า เป็นสังคมของพลเมืองอิสระที่มีสิทธิขั้นพื้นฐานที่เท่า เทียมกันและให้ความร่วมมือภายในระบบเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สังคมควรมี (Marmor & Andrei, 2021) สรุป ในการทำการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคลที่มีอายุ 17-19 ปีซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ กฎหมายสามารถให้ทำการสมรส ให้สิทธิในการเลือกตั้ง และการทำงานแล้ว แสดงให้เห็นว่าบุคคลในวัยดังกล่าว ย่อมมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะใช้สิทธิได้ด้วยตนเองแล้ว ควรมีการกำหนดอายุให้ชัดเจนในการทำนิติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3