การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

73 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์ และบรรลุนิติภาวะ” เห็นได้ว่าเกณฑ์อายุในการบรรลุนิติภาวะนั้นได้ถูกใช้มา จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาอันยาวนานซึ่งมิเคยปรับปรุงแก้ไขแต่ประการใด ในปัจจุบันการตรากฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของปวงชนเป็น สำคัญ เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของปวง ชนชาวไทยไว้ในหมวด 3 ว่า ในการใช้สิทธิและเสรีภาพในการกระทำการใด ๆ นั้น หากมิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ใน รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น และการใช้สิทธิเสรีภาพไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของ รัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่นย่อมได้รับ ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่า ด้วยความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพร่างกายหรือสุขภาพ สถานะ ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใดจะกระทำมิได้ เว้นแต่มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือ ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความ สะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคลย่อมไม่ถูกจำกัด เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2535 ลักษณะ 2 บุคคล หมวด 1 บุคคลธรรมดา ส่วนที่ 2 ความสามารถ ได้กล่าวถึงความสามารถของบุคคลซึ่งอยู่ในสภาวะผู้เยาว์ดังนี้ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะ ผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือทำการสมรสตามกฎหมาย หากบุคคลยังไม่บรรลุนิติ ภาวะและอยู่ในสภาวะผู้เยาว์การทำนิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หาก การกระทำนิติกรรมของผู้เยาว์ปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมเป็นโมฆียะ เว้นแต่กฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิหรือเพื่อให้หลุดพ้นจาก หน้าที่อันใดอันหนึ่ง การกระทำซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว การกระทำซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูปแห่ง ตนและการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร ในการจำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใด ผู้เยาว์จะต้องขอ อนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมเพื่อการจำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการนั้น หากได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สิน โดยมิได้ระบุว่าเพื่อการใดผู้เยาว์ก็สามารถจำหน่ายได้ตามใจสมัคร ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปี บริบูรณ์ การประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน ผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอม โดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้กำหนดคำนิยามสำหรับคำว่า “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส การกำหนดให้ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่รับเด็กไปปกครองดูแลจัดให้เด็กประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของเด็ก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3