การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
76 ตัดสินใจแก้ปัญหาที่สำคัญของตนเองอย่างผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและความรับผิดชอบ ซึ่งความสามารถ ดังกล่าวสามารถพัฒนาได้ด้วยกระบวนการดูแลจากครอบครัว สังคม และการศึกษา ที่ดังนี้ พีรเดช ประคองพันธ์ (2564) วิจัยการขัดเกลาทางสังคมต่อการไม่ยอมทำแท้งของผู้หญิง ศึกษาจากการ เล่าเรื่องของผู้หญิงที่มีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ก่อนการบรรลุนิติภาวะหรือก่อนอายุ 20 ปีบริบูรณ์จำนวน 12 คน และตัดสินใจไม่ยุติการตั้งครรภ์ พบว่า การขัดเกลาทางสังคมของแม่วัยรุ่นกลุ่มนี้ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ การขัดเกลาผ่านคนในครอบครัว การขัดเกลาทางสังคมผ่านวัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนา และ การขัดเกลาผ่านบริบทในสถานศึกษา ทั้ง 3 รูปแบบมีทั้งกระบวนการขัดเกลาทางสังคม 2 ลักษณะ คือ การขัด เกลาทางตรงการผ่านการสั่งสอน พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความขัดเกลาทางอ้อม คือ การซึมซับ จากการเข้ารวมกลุ่ม การอ่านหนังสือ การรับรู้จากสื่อต่าง และการรับรู้จากตัวอย่างที่ปรากฏในสังคม (พีรเดช ประคองพันธ์, 2564). มานะ รุจิระยรรยง (2563) วิจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ถาวร กรณีศึกษา มูลนิธิครอบครัวเฟลิกซ์สุราษฎร์ธานี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง จากสมาชิกใน มูลนิธิครอบครัวเฟลิกซ์สุราษฎร์ธานี จำนวน 7 คน คือ ผู้บริหาร 1 คน พ่อแม่อุปถัมภ์ 3 คน และบุตรอุปถัมภ์ จำนวน 3 คน พบว่า การพัฒนาที่ดีทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและจิตวิญญาณ เกิดขึ้นจากการที่เด็ก มีที่อยู่อาศัยในสถานที่ที่เหมาะสม สิ่งแวดล้อมที่ดี มีการวางแผนจัดเตรียมการศึกษาอย่างเท่าเทียมตาม ศักยภาพของเด็กแต่ละคน (มานะ รุจิระยรรยง, 2563) การวิจัยที่เกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์ในทางกฎหมายที่ปรากฏเป็นประเด็นปัญหาต่อผู้เยาว์ และ สามารถนำมาประกอบการวิจัยแนวคิดใหม่การกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน มีดังนี้ ศศิวิมล เสมอใจ (2563) วิจัยปัญหาที่เกี่ยวกับการจำกัดความสามารถของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม ค้น พบว่า การจำกัดความสามารถของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เยาว์ เป็นการจำกัด สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้เยาว์ ในการจัดการทรัพย์สินทรัพย์สินของผู้เยาว์ ทำให้คู่สัญญาที่ทำนิติกรรมไม่ได้รับ ความเป็นธรรมเนื่องจากสัญญาดังกล่าวอาจถูกบอกล้างได้ ปัญหาในทางกฎหมายเรื่องเกณฑ์การบรรลุนิติภาวะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 19 ที่ กำหนดให้บุคคลบรรลุนิติภาวะที่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ทำให้ ผู้เยาว์ถูกจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของตนเอง แม้จะมีบทบัญญัติที่กำหนดข้อยกเว้นของการทำนิติกรรมโดยไม่ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมไว้ในมาตรา 22-25 แต่ต้องได้รับการตีความตามข้อเท็จจริงเป็น เรื่องๆ ไป ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับแก้ให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเร็วขึ้น ทำให้ผู้เยาว์สามารถ รับผิดชอบในสิทธิหน้าที่ของตนเองและดูแลจัดการทรัพย์สินของตนเองได้มากขึ้น (ศศิวิมล เสมอใจ, 2563) รุ่งรัตน พิมพา (2563) วิจัยเรื่อง การให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาลของผู้เยาว์ในประเทศไทย ศึกษาเรื่องสิทธิการให้ความยินยอมการรักษาพยาบาลของผู้เยาว์ว่ามีสิทธิให้ความยินยอมด้วยตนเองหรือไม่ พบว่า ประเทศไทยยังขาดความเป็นเอกภาพในกฎหมายทางการแพทย์ กล่าวคือ กฎหมายที่เกี่ยวกับการแพทย์ มีอยู่หลายฉบับ โดยการบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่การบัญญัติในกฎหมายแต่ละฉบับไม่มีความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3