การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

77 สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บทบัญญัติของกฎหมายไม่ครอบคลุมถึงเรื่องอายุและความสามารถใน การให้การยินยอมเพื่อรักษาพยาบาลของผู้เยาว์ อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดถึงบุคคลผู้มีสิทธิในการให้ความ ยินยอมแทนในกรณีที่ผู้เยาว์ไม่สามารถให้ความยินยอมแทนได้ ดังนั้นในเรื่องการให้ความยินยอมทางการแพทย์ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลพึงมี จึงควรให้เด็กอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปสามารถใช้สิทธินี้ได้ด้วยตัวเอง แต่เด็ก ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ สามารถให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ใช้สิทธิดังกล่าวแทนผู้ป่วยเด็กที่อายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ โดยยึดถือหลักประโยชน์สูงสุด (Best Interest) ของผู้ป่วยเป็น และ กฎหมายควรระบุให้ชัดเจนว่า บุคคลผู้มีอำนาจในการให้ความยินยอมแทนผู้ป่วยเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ โดยหลักคือ ผู้แทนโดยชอบ ธรรม และควรมีการบัญญัติถึงลำดับผู้มีสิทธิให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์นอกเหนือจากผู้แทนโดยชอบธรรมไว้ ด้วย โดยพิจารณาจากความใกล้ชิด ความสามารถในการอุปการะดูแลผู้เยาว์ภายหลังรับการรักษาพยาบาล ประกอบกัน และให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงด้วย (รุ่งรัตน พิมพา, 2563) บรรลือศักดิ์ นันทะพักษ์ และ จิดาภา พรยิ่ง (2563) วิจัยเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการประกอบ อาชีพผู้เยาว์ พบว่า การประกอบอาชีพและการทำนิติกรรมของผู้เยาว์อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบรณ์ขึ้นไป ยังมี ปัญหาและอุปสรรค์เนื่องจากต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอยธรรมหรือขออนุญาตจากศาลก่อนเป็น การสร้างภาระโดยไม่จำเป็น จึงเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 27 เพื่อให้ ผู้เยาว์ที่มีวุฒิภาวะสามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือขอ อนุญาตจากศาลก่อน และให้ผู้เยาว์มีสถานะเสมือนบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (บรรลือศักดิ์ นันทะพักษ์ & จิดาภา พรยิ่ง, 2020) จักรกฤษณ์ มณีวรรณ์ (2563) วิจัยเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ พบว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือโดยการสมรสไม่เพียงพอต่อการ คุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้เยาว์ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึง เห็นควรให้มีการแก้ไขหลักการปรับปรุงกฎหมายในเรื่องดังกล่าวโดยประการแรกให้ลดเกณฑ์อายุในการบรรลุ นิติภาวะของผู้เยาว์เป็น 18 ปีบริบูรณ์ ประการที่สองควรลดเกณฑ์อายุในการสมรสของผู้เยาว์เป็น 16 ปี บริบูรณ์และเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการบรรลุนิติภาวะโดยคำสั่งศาลในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้ผู้เยาที่มีศักยภาพได้รับประโยชน์จากการใช้ความสามารถทางแพ่งได้อย่างเต็มที่และเร็วขึ้น (จักรกฤษณ์ มณีวรรณ์, 2563) ณิชาวีร์ นามธรรม และสุรศักดิ์ มีบัว (2562) วิจัยเรื่องปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ศึกษากรณีการจ้างแรงงานเด็ก พบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองแรงงานเด็กโดยตรง เพื่อไม่ให้นายจ้างลักลอบจ้างแรงงานเด็กในทางเอารัดเอา เปรียบเด็ก แรงงานเด็กที่สามารถทำงานได้นั้น ต้องมีอายุ15 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 18 ปี ซึ่งกฎหมายได้กำหนด ประเภทงาน สถานที่การทำงาน ช่วงเวลาการทำงาน ที่ห้ามมิให้เด็กทำงานไว้แล้วตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่มีงานบางประเภทที่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สามารถทำได้ ก็คือ งานเบา แต่เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3