การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

78 แรงงาน พ.ศ. 2541 มิได้บัญญัติงานเบาไว้เป็นการเฉพาะว่าให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สามารถทำงานได้ ฉะนั้น จึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานเด็กสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง โดยไม่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ ร่างกายและจิตใจของแรงงานเด็กเหล่านั้นสืบไป (ณิชาวีร์ นามธรรม & สุรศักดิ์ มีบัว, 2562) ปรางชมพู จงอนุรักษ์ (2559) วิจัยเรื่องปัญหาการคุ้มครองเสรีภาพในการประกอบอาชีพในระบบ กฎหมายไทย ค้นพบว่า ปัจจุบันบันการรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักรไทยยังมีปัญหาทั้งในการตีความหาความชัดเจนในทางวิชาการเพื่อการคุ้มครองเสรีภาพดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพพรอมทั้งสอดคลองกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆซึ่ง ไทยไดเข้าร่วมเป็นภาคี ซึ่งล้วนแล้วแต่ยืนยันและบัญญัติรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพเอาไวในฐานะที่ เป็นสิทธิมนุษยชนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีพหรือเป็นวิถีทางยังชีพของมนุษย์ นอกจากนี้ บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆในประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญเพื่อจำกัดเสรีภาพในการ ประกอบอาชีพนั้นบางครั้งยังมีลักษณะไมสอดคลองต่อหลักการรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพตาม รัฐธรรมนูญและไมเป็นไปตามหลักการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งในส่วน ของการประกอบอาชีพในภาครัฐและในส่วนของภาคเอกชน จึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาแกไข เปลี่ยนแปลงบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสม หรือทำการศึกษาและหาแนวทางสรุปหลักเกณฑ์ให้เกิดความ ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาแนวทางการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและ เหมาะสมแกสภาพสังคมในปัจจุบัน (ปรางชมพู จงอนุรักษ, 2559) จากงานวิจัยทั้ง 8 เรื่องดังกล่าวข้างต้นต่างศึกษาถึงประเด็นวัยวุฒิและคุณวุฒิ ผู้เยาว์ ที่แสดงให้เห็นถึง การพัฒนาการของผู้เยาว์ทางด้าน วัยวุฒิและคุณวุฒิในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่สำคัญ ความสามารถและความ รับผิดชอบ การศึกษาข้อกฎหมายในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ การคุ้มครองแรงงานเด็ก ความรับผิดทางละเมิด ของผู้เยาว์ การคุ้มครองเสรีภาพในการประกอบอาชีพของผู้เยาว์ การเลือกอาชีพของผู้เยาว์ กฎหมายในการ คุ้มครองการประกอบอาชีพของผู้เยาว์ และวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายการบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์วิเคราะห์ เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายต่างประเทศ แต่มิได้ศึกษาถึงแนวคิดในการกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะของ ผู้เยาว์ ในด้านบริบททางสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปดังนั้น วรรณกรรมที่ได้ทบทวนในบทนี้ ผู้วิจัยนำไปใช้เป็น ข้อมูลเอกสารเพื่อประกอบการวิเคราะห์ ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในการทำวิจัยแนวคิดใหม่ในการกำหนดอายุ การบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผันต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3