การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

79 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุในการศึกษาค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลักในเรื่อง แนวคิดใหม่ในการกำหนด อายุการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน การพัฒนากฎหมายที่มีผลต่อการกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะ เพื่อ ศึกษาปัญหาข้อกฎหมาย แนวคิด ทฤษฏี หลักการ และกฎหมายที่มีผลต่อการบรรลุนิติภาวะ การศึกษาค้นคว้า เพื่อหาคำตอบดังกล่าวนี้ มาจากการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิจัย (Research Methodology) ทีกำหนดไว้เพื่อนำไปสู่การพัฒนากฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคม ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันและสอดคล้องตามนโยบายแผนพัฒนาประเทศ ดังนั้นการเก็บ รวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์หาคำตอบ จึงกำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัยมี วัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อวางแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มี ผลต่อการบรรลุนิติภาวะของบุคคล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ต้องการใช้ในการ วิเคราะห์ มีดังนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พระราชบัญญัติรถยนต์ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวน วรรณกรรมที่เป็นแนวความคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้ง รายงานวิจัย ตำรา แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มา มีทั้งข้อมูลปฐม ภูมิ (Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดใหม่ในการกำหนดอายุการบรรลุ นิติภาวะในยุคพลิกผัน ได้แก่ 1) การบรรลุนิติภาวะ 2) ผู้เยาว์และความสามารถของผู้เยาว์3) ความเหมาะสม ของการบรรลุนิติภาวะ 4) การพัฒนาทางสติปัญญาของผู้เยาว์5) การพัฒนาการศึกษา 6) หลักการว่าด้วยสิทธิ และเสรีภาพ 7) หลักว่าด้วยการประกอบอาชีพ 8) การเปลี่ยนแปลงในยุคพลิกผัน 9) หลักการว่าด้วยแนวคิด ใหม่ 10) กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง 11) การวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นเอกสารที่ทบทวนและ เพื่อการวิเคราะห์ในบทที่ 4 แต่ละประเด็นต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3