การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

86 บทที่ 4 ผลการวิจัย การบรรลุนิติภาวะเป็นเรื่องความสามารถในการทรงสิทธิและในการทำนิติกรรม ของบุคคลในทาง กฎหมาย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อ มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อบุบรรลุนิติภาวะถือได้ว่าไม่ใช่ผู้เยาว์อีกต่อไปและไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง ของบุคคลอื่น สามารถใช้สิทธิเสรีภาพตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง ส่วนผู้ที่ไม่บรรลุนิติภาวะมีสถานะเป็นผู้เยาว์ ซึ่งเป็นผู้มีความอ่อนด้อยทั้งด้านสติปัญญา ความคิดอ่าน ความรู้ ความสามารถ และวุฒิภาวะ จึงไม่สามารถใช้ สิทธิและเสรีภาพได้อย่างอิสระอย่างเช่นบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นการป้องกันการเอาเปรียบจากบุคคลที่มีวุฒิภาวะ เหนือกว่าและเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ในการกำหนดอายุของบุคคลที่มี ผลต่อการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน ในการเตรียมความพร้อมรองรับทดแทนแรงงานผู้สูงอายุและการกำหนด สิทธิหน้าที่ของบุคคล 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ในการกำหนดอายุของบุคคลที่ มีผลต่อการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผันในการหาแนวทางความเหมาะสมต่อการกำหนดอายุของบุคคล 3) เพื่อ ศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ในการกำหนดอายุของบุคคลที่มีผลต่อการบรรลุนิติ ภาวะในยุคพลิกผัน 4) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับแนวคิดใหม่การกำหนดอายุของ บุคคลในการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเอกสาร (Documentary research) ผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และระดมความคิดเห็นการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus Group) เกี่ยวกับแนวคิดใหม่ใน การกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน โดยนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนของการกำหนดเกณฑ์อายุการบรรลุนิติภาวะ เป็นการเพิ่มสิทธิของ ประชาชนให้มากขึ้น และการทดแทนโครงสร้างประชากรแรงงานในสังคมสูงวัย เพื่อยกเลิกหรือปรับปรุง กฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ของประเทศ และสอดคล้องกับหลักสากล 4.1. แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน คำว่า “แนวคิด” (Concept) ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่าความคิด ที่มีแนวทางปฏิบัติ หรือ ความสำคัญซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องหรือความคิดอื่น ๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องใดก็ได้ ส่วนคำว่า “ใหม่” พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน ให้ความหมายว่า เพิ่งมี เมื่อนำคำว่า “แนวคิด” กับคำว่า “ใหม่” มารวมกันเป็น “แนวคิดใหม่” มีผู้ให้ความหมายว่า “Innovation” หรือนวัตกรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3