การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

87 มีรากศัพท์มาจาก Innovare ในภาษาลาติน หมายถึงทำสิ่งใหม่ขึ้นมาโดยมุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์ การวิจัย และ การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น Innovation จึงหมายถึง แนวคิดใหม่หรือการใช้ ประโยชน์ที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ ๆ ในการทำงาน โดย แบ่งได้เป็น Radical Innovation หมายถึงการนำ สิ่งใหม่เข้าสู่สังคมโลก ด้วยการเปลี่ยนค่านิยมหรือความคิดแบบเดิมออกไปอย่างสิ้นเชิง ด้วยการนำระบบ อินเตอร์เน็ตมาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากการเป็นอยู่ไปเป็นรูปแบบใหม่เรียกว่า ยุค “New Normal” ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ชาวอเมริกัน จากการเกิดวิกฤต เศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ระหว่างปี 2007-2009 เพื่อกล่าวถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลงและคาด ว่าจะไม่กลับมาเติบโตในระดับเดิมอีกต่อไป ต่อมา รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศ ศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ให้ความหมาย“New Normal”ว่า ความปกติใหม่ ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบ การดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีตอันเนื่องมาจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติ ที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลัก มาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ส่วนคำว่า “ยุคพลิกผัน”ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ไม่ บัญญัติความหมายไว้ จึงต้องนำความหมายมาจากภาษาอังกฤษ คือคำว่า “Modern Era” หมายถึง ยุค สมัยใหม่ มาจากคำว่า “Modern” หมายถึง adj. สมัยใหม่, ยุคใหม่, สมัยปัจจุบัน, ทันสมัย และคำว่า “Era” หมายถึง n. ยุค, สมัย เมื่อนำคำว่า “สมัยใหม่” มาแปลตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 มี ความหมายแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. และ ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่ ดังนั้น ยุคพลิกผันย่อมหมายถึงยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมส่วนบุคคล ครอบครัว รวมถึงสภาพแวดล้อมเป็นไปอย่างฉับพลัน 4.1.1 การกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะของบุคคล การบรรลุนิติภาวะตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง มีอายุถึงกำหนดที่ กฎหมายให้พ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายทั้งปวงได้โดยสมบูรณ์ด้วย ตนเอง โดยกฎหมายกำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อ ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 กำหนดให้บุคคล ย่อมพ้นจากผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมาตรา 20 บัญญัติว่า ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติ ภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448 ดังนั้น การบรรลุนิติภาวะแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ การบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และการบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส ตามกฎหมาย ในการกำหนดเกณฑ์การบรรลุนิติภาวะ จากการศึกษาไม่สามารถทราบถึงเจตนารมณ์ของ กฎหมายแต่อย่างไร แต่เมื่อพิจารณาจากการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยพบว่า ได้มี การนำเอาแบบอย่างมาจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ประมวลกฎหมายแพ่ง ฝรั่งเศส และประมวลกฎหมายแพ่งสวิส มาเป็นแม่แบบในการร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3