การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เป็นประเทศที่มีผลผลิต ทางการเกษตรเพื่อการส่งออกและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมาตลอด แรงงานจึงเป็นกำลัง สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ความต้องการแรงงานของภาคธุรกิจและภาคการผลิตหลายด้าน จำต้องพึ่งพาแรงงานเป็นกลไกลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ แรงงานภายในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรงงานในระบบและกลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งกลุ่มแรงงาน ในระบบนั้นได้รับสวัสดิการทางสังคมและได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน กฎหมายเงินทดแทน กฎหมายประกันสังคม กฎแรงงานสัมพันธ์ และสัญญาจ้างตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขณะที่แรงงานนอกระบบยังไม่มีกฎหมายบัญญัติรองรับสิทธิประโยชน์และ สวัสดิการสังคมอย่างชัดเจนเหมือนกับแรงงานในระบบ จากผลการสำรวจแรงงานนอกระบบ ในปี พ.ศ. 2563 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บรวบรวมข้อมูลพบว่า ในจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 37.9 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบ 17.5 ล้านคนหรือร้อยละ 46.2 (ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 , 39 และ มาตรา 40 โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีจำนวน 3,374,151 คน) ส่วนที่เหลือเป็นผู้ทำงานที่ไม่มี หลักประกันทางสังคมจากการทำงานจำนวน 20.4 ล้านคนหรือร้อยละ 53.8 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2563) นอกจากนั้น จากรายงานสถานการณ์ความยากจน ในปี 2563 มีสัดส่วนคนจนที่คำนวณจากคนที่มีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพต่ำกว่าเส้นความยากจน (ต่ำกว่า 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน) คิดเป็นจำนวนร้อยละ 6.84 หรือประมาณ 4.8 ล้านคน (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564) ซึ่งเมื่อเทียบกับสัดส่วนผู้มีงานทำ จะพบว่า แรงงานในระบบมีกรอบของค่าแรงขั้นต่ำสุด (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 313 บาท) (ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10), 2562) เมื่อคำนวน เป็นรายเดือนแล้ว จะสูงถึง 9,390 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าเส้นความยากจนถึง 3.3 เท่า ดังนั้น จึงอนุมานได้ว่าคนจนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน คือแรงงานนอกระบบ ปัญหาของแรงงานนอกระบบพบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องค่าตอบแทนที่ได้รับ การจ้างงาน อย่างต่อเนื่อง การทำงานหนัก นอกจากนั้นปัญหาหลักๆ ของแรงงานนอกระบบ คือแรงงาน นอกระบบมีระดับการศึกษาเพียงภาคบังคับ มีฐานะยากจน ทำงานลักษณะไม่มีนายจ้างที่แน่นอน และส่วนใหญ่เป็นแรงงานด้อยโอกาส ไม่มีหลักประกันรายได้ขั้นต่ำที่แน่นอน เช่น พ่อค้า แม่ค้าหาบเร่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3