การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
2 แผงลอย คนขับรถรับจ้าง บริการอิสระ กลุ่มแรงงานในสถานบริการ แรงงานในสถานบันเทิง สถาน บริการเสริมสวยและตัดผม เป็นต้น สำหรับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอยนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. กลุ่มหาบเร่ คือ เป็นผู้ที่หาบของขายเร่ไปในที่ต่างๆ มีลักษณะเคลื่อนย้ายได้สะดวกเพื่อไป ค้าขายตามจุดที่เห็นว่าเป็นทำเลที่ดี หรือตามสถานที่มีคนพลุกพล่านจำนวนมาก กลุ่มนี้มีรายเพียง เล็กน้อยจากการหาสินค้าท้องถิ่น หรือรับสินค้ามาขาย เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น 2. กลุ่มแผงลอย คือ มีลักษณะการจัดพื้นที่ให้ไว้สำหรับการขายหรือให้บริการอาจเป็นพื้นที่ สาธารณะและไม่ใช่สาธารณะที่ตั้งอยู่ภายในหรือนอกอาคาร อาจเป็นลักษณะของตลาดประจำห รือ ตลาดสด ซึ่งในส่วนของแรงงานนอกระบบกลุ่มแผงลอยนี้ จะเป็นคนที่มีฐานะดี ขณะที่กลุ่มลูกจ้างของ ผู้ประกอบอาชีพแผงลอยกลุ่มนี้ ยังขาดหลักประกันขั้นพื้นฐาน กลุ่มแรงงานนอกระบบทั้งสองประเภทนี้ยังไม่มีกฎหมายใดรองรับสิทธิทางสังคม ไม่สามารถ เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกัน ทางสังคม แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ เป็นแรงงานด้อยโอกาส จบการศึกษาภาคบังคับ ฐานะยากจน ไม่มีนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างที่แน่นอน สวัสดิการที่แรงงานกลุ่มนี้ได้รับเป็นเพียงสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่รัฐ จัดให้ในฐานะพลเมือง หากเปรียบเทียบกับสิทธิขั้นพื้นฐานสวัสดิการทางสังคมตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ 7 ประเภท ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน อีกทั้งเมื่อประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยหรือทุพลภาพในขณะทำงาน จะได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้ตามกฎหมายว่าด้วย เงินทดแทน ขณะที่แรงงานนอกระบบ ได้รับสิทธิเพียงกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ซึ่งเป็นสิทธิตาม หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำด้านหลักประกันสังคม อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พลเมืองควรได้รับจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564) ได้วางเป้าหมายลดความ เหลื่อมล้ำทางสังคมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ในการสร้างโอกาสและ ความเสมอภาคทางสังคมลดความเหลื่อมล้ำ ความแตกต่างของรายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตรา 4 ที่ให้ การรับรองสิทธิและความเสมอภาคของบุคคล โดยกำหนดว่าบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิ เสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่าง ฯลฯ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมก็ตาม จะกระทำ มิได้ ตามมาตรา 27 และยังกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ตามมาตรา 51 โดยรัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนทำงานอย่างเหมาะสม ให้มีงานทำและพึงคุ้มครองผู้ใช้ แรงงานได้รับความปลอดภัย ได้รับรายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3