การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

5 1.5.2 ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการรวบรวมข้อมูลกำหนดไว้ คือ ตลาดสดและหาบเร่แผง ลอย ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสงขลาและอำเภอหาดใหญ่ ในจังหวัดสงขลาเนื่องจากเป็นตลาดที่มีขนาด ใหญ่และเป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบอาชีพค้าขายอยู่เป็นจำนวนมาก 1.5.3 ขอบเขตด้านประชากร ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้แทนเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผู้แทนเทศบาลนครสงขลา ผู้แทนเทศบาลนครหาดใหญ่ ผู้แทนสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดสงขลา ผู้แทนสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา ผู้แทนกลุ่มละ 1 คน รวม 5 คน ผู้มีส่วนได้เสียกับแรงงานนอกระบบ ได้แก่ เจ้าของตลาดหรือผู้มีอำนาจจัดการตลาดในอำเภอเมือง สงขลาและอำเภอหาดใหญ่ อำเภอละ 1 คน รวม 2 คน และผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จำนวน 4 คน ผู้ไม่ได้ประกันตนตามมาตรา 40 จำนวน 4 คน ประชากรสัมภาษณ์รวมทั้งหมด 15 คน 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย และได้ทราบอำนาจ หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างหลักประกันสังคม ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของแรงงานนอกระบบ 1.6.2 ได้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน นอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย 1.6.3 ได้ทราบถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและ พัฒนาแรงงานนอกระบบ 1.6.4 ได้รับแนวทางการพัฒนากฎหมายการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบ เร่ แผงลอย ให้มีหลักประกันและเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ และ ผลการวิจัยนี้ นำไปประยุกต์เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแรงงานนอก ระบบกลุ่มหาบเร่ แผงลอย 1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ “แรงงานในระบบ” หมายความว่า ผู้มีงานทำที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หรือมี หลักประกันทางสังคมจากการทำงาน “แรงงานนอกระบบ” หมายความว่า บุคคลที่ทำงานอย่างไม่เป็นทางการ ประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ใช้แรงงานทั่วไปโดยมิได้สังกัดหรืออยู่ภายใต้องค์กรหรือหน่วยงานใด และมิได้เป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3