การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในบทนี้ เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมาย ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ การทบทวนเอกสาร กฎหมายระหว่าง ประเทศ ต่างประเทศและประเทศไทย รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการเข้าถึงสวัสดิการทาง สังคมของแรงงานนอกระบบ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความคุ้มครองสิทธิของแรงงาน 2.2 แรงงานนอกระบบกลุ่มผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย 2.3 หลักการคุ้มครองสิทธิแรงงาน 2.4 หลักการสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐานของแรงงาน 2.5 แผนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 2.6 กฎหมายระหว่างประเทศ ต่างประเทศและประเทศไทย 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความคุ้มครองสิทธิของแรงงาน 2.1.1 แนวคิดด้านรัฐสวัสดิการ รัฐสวัสดิการ หมายถึง รัฐชาติหรือสังคม ที่มีบทบาทความรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชน ในด้านต่างๆ เช่นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนในด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย เศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคม เป็นต้น รัฐสวัสดิการเป็นการสร้างความผาสุกให้ ประชาชนโดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลัก รัฐสวัสดิการเป็นทางเลือกในการตอบสนองความต้องการ ของประชาชนโดยไม่จำเป็นต้องใช้รัฐที่มีการปกครองในลัทธิคอมมิวนิสม์ เป็นการตอบสนองความ ต้องการของสังคมและประชาชน โดยยังคงระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และระบอบการปกครองประชาธิปไตย (กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล, 2550) รัฐสวัสดิการ เป็นแนวคิดที่นักประวัติศาสตร์และนักสังคมวิทยา พบว่ายากที่จะกำหนด เช่นเดียวกับสังคมนิยม มันมีความหมายที่แตกต่างกันสำหรับกลุ่มต่างๆ ดังที่นักสังคมศาส ตร์ ผู้มี ชื่อเสียง Wa Robson ได้กล่าวว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะค้นพบว่าธรรมชาติของรัฐสวัสดิการคืออะไร ปรัชญาเชิงบวกหรือเชิงลบ ไม่มีอุดมการณ์ใดสนับสนุน Rodney Lowe นักประวัติศาสตร์แห่งรัฐ สวัสดิการ ยอมรับว่าไม่มีข้อตกลงใด ๆ ในบรรดานักบวชและนักสังคมศาสตร์ ในช่วงที่รัฐสวัสดิการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3