การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
8 แห่งแรกก่อตั้งขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะของรัฐสวัสดิการในทางปฏิบัตินั้นมีความชัดเจน เป็น ระบบการจัดระเบียบทางสังคมที่จำกัดการดำเนินงานในตลาดเสรี ด้วยวิธีหลัก 3 ประการ คือ 1) การกำหนดของคนบางกลุ่ม เช่น เด็กหรือคนในโรงงาน ต้องได้รับการรับรองสิทธิและ สวัสดิการ 2) การได้รับความคุ้มครองจากชุมชน โดยการส่งมอบบริการต่าง ๆ เช่นการ รักษาพยาบาลหรือการศึกษาเพื่อป้องกันไม่ให้พลเมืองถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงได้ และ 3) การคุ้มครองรายได้ ซึ่งรักษารายได้ในช่วงที่มีความจำเป็นพิเศษ การหยุดงานตาม เทศกาล หรือจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเจ็บป่วย การว่างงาน ความเป็นมาของนโยบายสังคมทั้งสามด้านนี้ พบว่า ไม่เสมอไปที่การคุ้มครองกลุ่มที่ เปราะบาง การให้บริการทางสังคม หรือการคุ้มครองรายได้เป็นความรับผิดชอบของรัฐ เมื่อรัฐ สวัสดิการกลายเป็นลักษณะเด่นของสังคมสมัยใหม่ นักสังคมศาสตร์จำนวนมากจึงพยายามกำหนด รูปแบบ ตัวอย่างเช่น Esping – Andersen (1990) ระบุโลกแห่งสวัสดิการสามประการ ได้แก่ รูปแบบสังคมประชาธิปไตย รูปแบบองค์กร และรูปแบบเสรีนิยม (Derek Fraser, 2017) จากแนวคิด ที่รัฐหรือเครือข่ายสถาบันทางสังคม ที่มีความน่าเชื่อถือมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริม ความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอยู่บนหลักของความเท่าเทียมกันของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียม และความรับผิดชอบต่อสาธารณะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ ประโยชน์จากบทบัญญัติขั้นต่ำเพื่อชีวิตที่ดีได้ (Paul Edwards and Tony Elger, 2014) สรุปได้ว่า รัฐสวัสดิการ คือสวัสดิการขั้นต่ำที่ทุกคนในสังคมสามารถได้รับ โดยไม่แบ่งแยก ว่าจะเป็นใคร สวัสดิการขั้นต่ำ อาจไม่ได้หมายความว่ารัฐจะต้องเป็นผู้สนับสนุนแต่เพียงผู้เดียว อาจมี หน่วยงานอื่นๆ เข้ามามีบทบาทร่วม ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประกันรายได้ ขั้นต่ำ เป็นต้น สำหรับคำว่า “สวัสดิการ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ ความหมายไว้ว่า การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัยจัดรถรับส่ง และ Encyclopedia Britanica (1768) ได้ให้ ความหมายคำว่า สวัสดิการสังคม หมายถึง การปฏิบัติจัดทำทั้งหลายไม่ว่าโดยส่วนราชการ หรือ เอกชน เป็นการปฏิบัติจัดทำเพื่อช่วยเหลือบุคคล ครอบครัว กลุ่มชน และชุมชน ให้มีมาตรฐาน การครองชีพที่ดี มีสุขภาพและฐานะทางสังคมที่น่าพึงพอใจ โดยมุ่งให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้และ ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมเดียวกันได้ต่อไป การจัดสวัสดิการทางสังคมของประเทศไทย อาจนึกถึงกลุ่ม คนบางจำพวกที่มีสถานะทางสังคมลำบาก ทั้งปัญหาในด้านปากท้อง ปัญหาค่าค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงนั้นสวัสดิการทางสังคมไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติแค่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพียงแต่ผู้ที่จะได้รับสวัสดิการทางสังคมอาจจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่ครบตามเงื่อนไขอย่างเพียงพอ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3