การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

9 จึงทำให้เกิดปัญหาว่าแรงงานในระบบและแรงานนอกระบบ มีการตีความสถานะทางสังคมที่แตกต่าง กัน ทำให้แรงงานนอกระบบไม่สามารถได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ (ระพี พรรณ คำหอม, 2554) 2.1.2 แนวคิดการคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองทางสังคม หมายถึง การคุ้มครองขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนในประเทศ หนึ่งพึงได้รับ ได้แก่ บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน การประกันสังคม ประกันสุขภาพ การศึกษา ความ มั่นคงทางรายได้ รวมถึงการไม่สามารถเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆ ของทุกกลุ่มอายุ (เด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ กลุ่มทุพพลภาพ) ในรูปของการสงเคราะห์ การสนับสนุน ส่งเสริม ที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน (องค์การแรงงานระหว่างประเทศและคณะทำงานร่วมขององค์การสหประชาชาติใน ประเทศไทย, 2556) และ Devereux และ Sabates Wheeler กล่าวว่า การคุ้มครองทางสังคม มักเข้าใจว่าเป็นความคิดริเริ่มของภาครัฐและเอกชนที่ให้รายได้หรือการบริโภคแก่คนยากจน ปกป้อง ผู้อ่อนแอจากความเสี่ยงในการดำรงชีวิตและเพิ่มสถานะทางสังคมและสิทธิ โดยมีวัตถุประสงค์ โดยรวมในการลดความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มคนยากจน และกลุ่มเปราะบาง (Browne, E., 2015) การคุ้มครองทางสังคม กล่าวคือ การจัดระบบหรือมาตรการในรูปแบบต่างๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ ไม่ว่าจะเป็นบริการสังคม การประกันสังคม การช่วยเหลือทางสังคม การคุ้มครอง อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม ( Social Safety Nets) สำหรับผู้ด้อยโอกาสและคนยากจน ตลอดจนการจัดการกับความเสี่ยงทางสังคม (Social Risk Management) ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม และภัยพิบัติต่างๆ อย่างไรก็ตาม การจ้างงานโดยทั่วไป นอกจากผู้ใช้แรงงานจะได้รับค่าตอบแทนเป็นสินจ้าง สำหรับการทำงานแล้ว ผลตอบแทนอีกอย่างหนึ่งที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานระบุไว้ว่านายจ้างจะต้อง จัดให้แก่ผู้ใช้แรงงาน คือ “สวัสดิการ” (Welfare) และให้ถือว่าสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เป็นส่วนหนึ่ง ของสินจ้าง ดังนั้นสวัสดิการจึงมีความหมายที่กว้างขวางและครอบคลุมถึงบริการต่างๆ ที่กิจการจัดให้ เพื่อให้พนักงานมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงและปลอดภัย (ปณัชชยา วงศ์บุญงาม , 2561) สำหรับ ความหมายของงานสวัสดิการสังคม (Social Welfare) เป็นงานที่มีขอบข่าย กว้างขวางช่วยเสริมสร้าง การพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างดียิ่ง และยังถือว่าเป็นหลักคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้การดำเนิน ชีวิตเป็นไปอย่างราบเรียบถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดงาน สวัสดิการสังคมได้ให้ความหมายของการจัดสวัสดิการสังคม หรือบางครั้งเรียกว่า สวัสดิการสังคม ดังนี้ วันทนีย์ วาสิกะสิน ได้ให้ความหมายว่า สวัสดิการสังคมเป็นระเบียบความต้องการของ สังคมเป็นที่ยอมรับกันว่าสวัสดิการสังคมเป็นบริการพื้นฐานที่มีความสำคัญ ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและถาวร สู่สิ่งที่คาดหวังว่าดีกว่ารวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ในที่สุด (วันทนีย์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3