การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

10 วาสิกะสิน และคณะ, 2553) ขณะที่ พรอนันต์ กิตติมั่นคง กล่าวว่า สวัสดิการสังคมเป็นระบบการ จัดบริการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกระดับทั้งรัฐบาลและเอกชน เพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือให้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคม ทั้งนี้ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการ ขั้นพื้นฐานของบุคคลแต่ละวัย (พรอนันต์ กิตติมั่นคง, 2547) จากนิยามข้างต้นที่กล่าวมา พอสรุปความหมายของคำว่า สวัสดิการสังคม คือ กิจกรรมที่ หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนจัดให้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาสังคม หรือเพื่อพัฒนาให้ความเป็นอยู่ ของบุคคล หรือชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สำหรับการจัดกิจกรรมหรือบริการ หน่วยงานนั้นๆ อาจ จัดขึ้นเองหรือเป็นกิจกรรมที่หน่วยงานอื่นจัดขึ้น แต่กิจกรรมหรือบริการนั้นจะจัดขึ้นได้ต้องอาศัยหลัก วิชาชีพหลายสาขาร่วมกันทำงาน หรือที่เรียกว่าสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย นัก การศึกษา นักการศาสนา และนักสังคมสงเคราะห์ โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดี มีสุขภาพและมีความสุขในระดับที่น่าพึงพอใจ 2.1.3 แนวคิดด้านหลักความเสมอภาค หลักความเสมอภาคถือเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ย่อมต้อง ได้รับการรับรองและความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ โดยไม่ต้อง คำนึงถึงคุณสมบัติอื่นใด อย่างไรก็ตามความเสมอภาค จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกัน อย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสะระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะ ของเรื่องนั้นๆ จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใต้หลักความเสมอภาคขึ้นได้ บทความของ J. Stacy Adams (Adam, 1695) ชื่อ Inequity in Social Exchange โดย Adams มองว่าการทำงานนั้นเป็นการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ บุคคลที่เข้าทำงานจะแลกเปลี่ยนสิ่งหนึ่ง เพื่อรับสิ่งหนึ่งอยู่เสมอ โดยสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนเรียกว่า ปัจจัยนำเข้า เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่ตนจะ ได้รับ ความเสมอภาคหรือไม่เสมอภาคเกิดจากการรับรู้ในเชิงเปรียบเทียบ โดยบุคคลมักนำตนเองไป เปรียบเทียบกับคนอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตน ผลจากการเปรียบเทียบอาจก่อให้เกิดความรู้สึก เสมอภาคหรือไม่เสมอภาคได้ และส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล หากรู้สึกว่าปัจจัยนำเข้าสมเหตุสมผล กับผลลัพธ์ บุคคลก็จะไม่รู้สึกถึงความไม่เสมอภาคทำให้คงพฤติกรรมเช่นเดิม แต่หากเปรียบเทียบแล้ว รู้สึกถึงความไม่เสมอภาค อาจเป็นการไม่เสมอภาคทางบวก (บุคคลนั้นเป็นฝ่ายได้เปรียบ) หรือไม่ เสมอภาคทางลบ (บุคคลนั้นเป็นฝ่ายเสียเปรียบ) ความรู้สึกนั้นจะนำไปสู่ความตึงเครียด โดยระดับ ความตึงเครียดจะสัมพันธ์เป็นสัดส่วนกับขนาดของความไม่เสมอภาค ความตึงเครียดจะเป็นตัวกระตุ้น ให้ต้องหาทางขจัดโดยอาจแสดงพฤติกรรมได้ 4 ประการ ดังนี้ 1) บุคคลจะปรับเปลี่ยนปัจจัยนำเข้าของตน (Person altering his input) บุคคลอาจ เพิ่มหรือลดปัจจัยนำเข้า ขึ้นอยู่กับความรับรู้ถึงความไม่เสมอภาค ซึ่งการเพิ่มหรือลดปัจจัยนำเข้าจะ ช่วยลดความตึงเครียดที่เกิดจากความไม่เสมอภาค

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3