การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

11 2) บุคคลจะปรับเปลี่ยนผลลัพธ์ (Person altering his outcomes) ซึ่งอาจเป็นการเพิ่ม หรือลดผลลัพธ์ ขึ้นอยู่กับว่าตนเองเป็นฝ่ายได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ความต้องการได้รับผลลัพธ์ เพิ่มขึ้นจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคว่าตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะใช้ปัจจัยนำเข้า มากไปและได้รับผลลัพธ์กลับมาน้อยเมื่อเทียบกับบุคคลอื่น หรือในทางกลับกันบุคคลจะได้รับผลลัพธ์ ลดลงกรณีรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคที่บุคคลอื่นเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะบุคคลอื่นได้ใช้ปัจจัยนำเข้า ไปมากแต่ได้รับผลลัพธ์น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับตน 3) บุคคลจะบิดเบือนการรับรู้ต่อปัจจัยนำเข้าและผลลัพธ์ (Person distorting his input and outcomes cognitively) กล่าวคือ บุคคลอาจบิดเบือนการรับรู้ในปัจจัยนำเข้าและผลลัพธ์ที่ตน ได้รับโดยปริยาย เช่น หากบุคคลเชื่อว่าอายุเป็นปัจจัยนำเข้าที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ดีแต่ผลไม่ได้เป็นไป ตามที่คาดไว้ บุคคลจะพยายามเปลี่ยนความคิดว่าอายุไม่ใช่เรื่องสำคัญหรือมีความสำคัญน้อยกว่าที่ตน ตั้งไว้ เพื่อขจัดความรู้สึกไม่เสมอภาคที่เกิดขึ้นภายในใจ 4) บุคคลจะละทิ้งงาน (Person leaving the field) เมื่อเปรียบเทียบแล้วบุคคลรู้สึกถึง ความไม่เสมอภาค เป็นไปได้ว่าบุคคลอาจละทิ้งงาน การละทิ้งงานในที่นี้หมายทิ้ง การลาออก โยกย้าย หรือการขาดงาน เป็นต้น เพื่อขจัดความรู้สึกตึงเครียด อันเกิดจากความรู้สึกไม่เสมอภาคภายในใจ หลักความเสมอภาคจึงเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีแรงจูงใจ โดยมีหลักพื้นฐานว่าบุคคลจะมี แรงจูงใจก็ต่อเมื่อมีความเสมอภา ได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม โดยการเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น โดยพิจารณาจากเงื่อนไขการนำเข้าปัจจัยกับผลลัพธ์ที่ได้รับและนำมาเปรียบเทียบกับคนอื่น หาก อัตราส่วนใกล้เคียงกับบุคคลอื่นแล้วจะรู้สึกถึงความเสมอภาค ในทางตรงกันข้ามหากรู้สึกถึงความไม่ เสมอภาคก็จะส่งผลต่อแรงจูงใจของบุคคลนั้นอย่างมาก (วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ et al., 2564) หลักความเสมอภาค มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหลักเสรีภาพเนื่องจากเป็นหลักการที่จะทำ ให้ใช้เสรีภาพได้อย่างเสมอกัน (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2547) จึงถือได้ว่าเป็นหลักการพื้นฐานที่สุด เป็นหลักการพื้นฐานยิ่งกว่าเสรีภาพ เพราะความเสมอภาคก็คือมนุษย์ ความเสมอภาคทำให้ให้การใช้ เสรีภาพเป็นไปอย่างทั่วถึง หากเสรีภาพเข้าถึงได้แค่กลุ่มคนบางกลุ่มย่อมไม่ถือว่ามีเสรีภาพแต่อย่างใด (สมคิด เลิศไพฑูรณ์, 2543) หลักความเสมอภาค เป็นหลักการที่ทุกคนต่างมีความเท่าเทียมกันและห้ามมิให้รัฐในฐานะ ที่เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจปกครองเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สถานภาพทางการเมืองหรือสุขภาพของแต่ละ บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทาง การเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญอีกประการของหลักความเสมอภาค (อภิวัฒน์ สุดสาว , 2554) เป็นหลักการสำคัญในการควบคุมฝ่ายปกครอง รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติรองรับไว้ในมาตรา 4 และมาตรา 27 โดยองค์กรต่างๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3