การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

12 ของรัฐ ซึ่งรวมทั้งฝ่ายปกครองด้วย ต้องปฏิบัติต่อบุคคลเหมือนกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกันและ ปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญที่ต่างกัน กล่าวคือสิ่งที่เหมือนกันต้องใช้หลักเกณฑ์อย่าง เดียวกันพิจารณา สิ่งที่แตกต่างกันต้องใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันพิจารณาจึงจะเสมอภาค ซึ่งหากต่าง ไปจากนี้ย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาค (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2544) ความเสมอภาคกันในกฎหมาย หรือเท่าเทียมกันในกฎหมาย จึงเป็นหลักพื้นฐานของความยุติธรรม เพราะเป็นหลักการที่กำหนดให้มี การปฏิบัติต่อบุคคลในเรื่องนั้นๆ อย่างเท่าเทียมกัน (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2563) อย่างไรก็ตาม แนวคิดของหลักความเสมอภาค ในปัจจุบันได้รับการรับรองอย่างชัดแจ้ง โดยถือว่าบุคคลย่อมมีความเสมอภาคที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม (Fairness) ซึ่งหมายถึง “หลักความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย” (Equality before the law) ที่ เป็นการยอมรับสิทธิเสรีภาพอันเป็นสาระสำคัญของความเป็นมนุษย์ที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดและ ไม่อาจพรากไปได้ โดยอ้างถึงหลักกฎหมายที่ว่า “บุคคลทุกคนเกิดมาย่อมเสมอภาคและมีสิทธิบาง ประการ เช่นสิทธิในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ติดตัวมา สิทธินี้ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ หลักความ เสมอภาคเป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องถือปฏิบัติแก่บุคคลทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยการใช้หลักความเสมอ ภาคที่มีความหลากหลายในการปฏิบัติเนื่องจากสาระสำคัญของข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน ดังนั้นการ ปฏิบัติแก่บุคคลตามหลักความเสมอภาคย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ต้องเป็นความแตกต่างที่ยอมรับ ได้โดยมีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคเพื่อให้เกิดความยุติธรรม 2.1.4 โลกาภิวัตน์ที่มีผลกระทบต่อแรงงาน โลกาภิวัตน์ (globalization) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ ความหมายไว้ว่า การทำให้แพร่หลายไปทั่วโลก ความเป็นไปทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงที่กระทบถึงกัน ทั่วโลก การเกี่ยวโยงกันทั่วโลก การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้สัมพันธ์หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง เนื่องมาจากการ พัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้ความหมาย ของ โลกาภิวัตน์ ไว้อย่างน่าสนใจ คือ โลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการประสานเศรษฐกิจของประเทศ ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างรวดเร็ว โดยมีแรงผลักดันจากการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน การไหลของ ทุนและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารไปพร้อมๆ กัน ผลของโลกา ภิวัตน์กระทบสถาน ประกอบการและคนงานเกือบทุกประเทศในโลกทั้งที่อยู่ภาคการเกษตร และภาคบริการ ผลที่ตามมา คือ กำลังแรงงานส่วนใหญ่ของโลกต่างประสบผลกระทบจากการแข่งขันระหว่างประเทศ ดังนั้นจึง กล่าวได้ว่าโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบต่อสังคมและแรงงานมากมาย กล่าวคือ โลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบ ต่อกลุ่มอาชีพที่แตกต่างกัน เช่น แรงงานที่มีทักษะจะได้รายได้ที่ต่างจากแรงงานไร้ทักษะ หรือแรงงาน ในเขตเมืองจะได้รายได้มากกว่าแรงงานชนบท อีกทั้งยัง ก่อให้เกิดการไหลเข้าออกของเงินทุน อย่างเสรี เกิดการเลือกปฏิบัติ และการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานก่อให้เกิดความไม่มั่นคงใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3